อัญญา คือ อะไร ญาพ่อ ญาแม่ คืออะไร ?
หลังจากที่มีเพื่อน ๆ แฟนเพจเว็บไซต์อีสานร้อยแปดของเรา สอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก มีคำที่เกี่ยวกับภาษาอีสานด้วย เช่น ญาพ่อ ญาแม่ แล้วมันมาจากคำว่า "อัญญา" จึงเกิดคำถามขึ้นว่า แล้ว "อัญญา" คืออะไร ทำไม่ต้องเรียก อัญญา ด้วยนะ
"อาญา , อัญญา , อัญยา , อาชญา , อาชยา , อาจยา , อาตยา , อาดยา" คำเหล่านี้มาจากคำว่า อาญา / อาชญา (คำว่า ญา ในภาษาอีสาน หรือ ภาษาลาว ออกเสียง ญ ขึ้นเป็นเสียงนาสิก ตามแบบแผนบาลี และตามแบบการออกเสียง ย ดังเดิมของภาษาลาว)
"อัญญา / อาญา" หมายถึง เจ้านาย เจ้าชีวิต เจ้าผู้เป็นใหญ่เหนือกฎหมาย เหนือชีวิต สามารถสั่งเป็นสั่งตายไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ มีอำนานสิทธิ์ขาดสูงสุดในการปกครองแผ่นดิน ในระบบ "อาญา ๔" (เช่นเดียวกับการปกครองแผ่นดินในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยาม)
นอกจากนี้คำว่าอัญญา / อาญา ยังเป็นนามยศที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อเจ้านายที่เสวยยศในคณะอาญาสี่และนำหน้านามทายาทบุตรหลาย ตลอดจนใช้นำหน้านามชายาภริยา หม่อมห้าม และกรมการเมืองที่สืบเชื่อสายจากคณะอาญาสี่ด้วย เช่น อาญาเจ้า อาญาหลวง อาญานาง อาญาพ่อ อาญาแม่ เป็นต้น
ชาวบ้านทั่วไปนิยมออกนามคำว่า "อาญา" ตัดเสียง ออ ออก ให้เหลือแต่คำว่า ญา คำเดียว เพราะสะดวกและเรียกง่ายกว่า เช่น ญาพ่อ ญาเอื้อย ญาแม่ เป็นต้น หรือหากให้เข้าใจง่าย ๆ ก็แปลได้ว่า ท่านพ่อ ท่านแม่ ท่านพี่ เป็นต้น
"เวียงคำนาคประเทศราช"
เป็นหัวเมืองหนึ่งในอาญัติของอาณาจักรล้านช้าง ตัวละครที่เสวยยศมีคำนำหน้านามว่า อัญญา มีดังนี้
- อัญญาหลวงพุทธังกูร (เจ้าองค์ครองนคร)
- อัญญาเจ้าราชบุตรศรีโซ่ทอง (พระโอรส)
- อัญญานางคำอ่อนมหาเทวี (พระมเหสี)
- อัญญานางศรีสะอาด (พระธิดา)
- อัญญานางทองจันทร์ (พระสนม)
- อัญญานางหูกคำ (พระธิดา)
ภาษาอีสานที่เกี่ยวข้อง เช่น "ย่าพ่อ" (ญาพ่อ)
ญาคู [ยา-คู] แปลว่า บรรดาของพระภิกษุที่ชาวพุทธตั้งให้ เช่น ญาคูขี้หอม ญาคูบุญหลาย
ขอบคุณข้อมูลแหล่งที่มาและภาพประกอบจากละครเรื่อง ซิ่นลายหงส์ เพจช่อง 8
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความคิดเห็น