แมงหัวแข็ง

ชื่อพื้นเมือง         แมงหัวแข็ง  ( ด้วงหนวดยาว) แมงกอก  ( ชาวเหมืองแห่ง เหมันต์ )
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plocaederus obesus Gahan
ชื่อสามัญ : Stem-boring grub
ชื่ออันดับ : Coleoptera
วงศ์ : Cerambycidae

ลักษณะทางกายภาพ

ตัวเต็มวัยเป็นด้วงหนวดยาวสีน้ำตาลแก่ ขนาดหัวยาว 4 ซม.
เพศผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัวมาก เพศเมียขนาดสั้น หรือยาวเท่าลำตัว
ปีกแข็งคู่หน้ามีจุดสีเหลืองและแดง กระจายกันอยู่ ดวงตาเป็นลักษณะ ตามรวม
สีดำแบนราบด้านหน้า มีเขี้ยวสองเขี้ยวไว้เจาะเปลือกไม้

แมงหัวแข็ง

แมงหัวแข็ง

วงจรชีวิต

วางไข่ในเปลือกไม้   เมื่อโตขึ้น 1 จะเจาะชอนไช หากินตามเปลือกไม้
ตัวหนอน ตัวอ่อนมีเขี้ยวไว้คอยเจาะต้นไม้ ชอบอยู่ตาม ต้นงิ้ว ( ต้นนุ่น ) ต้นมะเดื่อ
ต้นมะม่วงหิมะพานต์  รวมทั้งต้นมะม่วงบางชนิด
เมื่อจะลอกคาบเป็นตัวโตเต็มวัย จะสร้างเปลือกไข่บางๆ สีขาวๆ  ในรูของต้นไม้
พอย่างเข้าเดือนที่  3 จะเป็นตัวอ่อนเจาะออกมา โบยบินหากินต่อไป

ตัวเต็มวัยในช่วงฤดูฝนราวเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่

ประโยชน์

ตัวอ่อนของ แมงหัวแข็ง สามารถนำมาเป็นอาหารได้ เนื่องจากมีรสชาติ อร่อย แซบ
ส่วนมากนำมา จี่ใส่ขี้เถ้ากองไฟ ตอนหน้าหนาว  อีกทั้งตัวโตเต็มวัย ก็กินได้
อย่างไรก็ตาม แมงหัวแข็ง จัดว่าเป็นศัตรูพืช เนื่องจาก ชอบเจาะ ต้นงิ้ว  ต้นมะม่วง
และต้นไม้เนื้ออ่อนอย่างอื่น

ในแง่วิถีชีวิตอีสาน

สมัยเก่า คนอีสานทำเครื่องนอน เครื่องนุ่งห่มเอง เช่น ผ้าห่ม  หมอน อาสนะ ( ฟูกที่นอน )
ซึ่งต้องอาศัย ต้นงิ้ว หรือ ต้นนุ่น เอาใยนุ่น มาทำ จึงต้องปลูกต้นงิ้ว ไว้ตามบ้านแทบทุกบ้าน
นี่เองคือสวรรค์ ของ แมงหัวแข็ง  มีอาหารอันอุดมสมบูรณ์ ได้เจาะกินชอนไช

เมื่อถึงคราวหน้าหนาว เสร็จนาแล้ว  ตอนเช้าๆ  ผู้เฒ่าผู่แก่ ก็จะมาก่อไฟผิง ใต้ต้นงิ้วหน้าบ้าน
หรือหลังบ้าน ลูกหลานก็จะมา “ตุ้มโฮม” กันผิงไฟ แก้หนาว  นั่ง “จี่ข้าวจี่ทาไข่ ”
อยู่ข้างกองไฟ ฟังปู่ย่าเล่าเรื่องสนุก ๆ  ระว่างนั้น เด็ก ๆ ก็จะเดินเลาะหา หนอนแมงหัวแข็ง
หรือ ด้วงงิ้ว หาเจาะงัดแงะเอาตามเปลือกต้นงิ้ว ตามรูของต้นไม้ ก็จะได้ แมงอันนี้ มา จี่กิน
เป็นที่สนุกสนาน  บ้างก็ได้ แมงหัวแข็งตัวโตเต็มวัยมาอ้างกัน

เวลาจับมันจะร้อง เสียงดังเหมือนพลาสติกสีกัน ดังออด แอด.. ออด แอด  ด้วยการเอาหัว
ยกขึ้นลงทำให้ปล้องช่วงลำคอของมันสีกัน จนเกิดเป็นเสียงร้อง บางครั้งเด็ก ๆ ก็โดนผู้ใหญ่อำ
บอกว่า “แมงหัวแข็ง เอิ๊กมันหอม”  พลางให้เด็กน้อยดม อกแมงหัวแข็ง
แล้วก็โดน “แมงหัวแข็ง หยุมดัง ”

ปัจจุบัน ต้นงิ้วเหลือน้อย เพราะงานหัตถกรรม ผ่าห่ม ฟูกที่นอน ที่ทำด้วยมือ หายไป
ยกหน้าที่ให้เป็นของ โรงงานต่างๆแทน  ลูกหลานต่างแยกย้ายจากถิ่นฐาน หาอยู่หากิน
ตามจำนวนต้นงิ้วที่หายไปจาก เฮือนอีสาน   การ”ตุ้มโฮม” หาได้ยาก
บางคนไม่รู้จัก แมงหัวแข็ง  รู้จักแต่ การหัวแข็งแทน


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*