แมงสำลี

ชื่อ                    แมงสำลี, แมงหนวดโค้ง  (อีสาน )  ด้วงหนวดปม ( ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Aristobia approximator
วงค์              Beetles
อันดับ        OLEOPTERA

ลักษณะทางกายภาพ

เป็นด้วงที่มีขนาด  สัดส่วน ความยาวลำตัว 20-36 มิลลิเมตร
ลำตัวมีสีเหลือง ลายดำ สวยงาม
หนวดยาวกว่าลำตัวเล็กน้อย ปีปมสีดำ อยู่ตรงหนวด เป็นจุดเด่น

แมงสำลี

แมงสำลี

สถานที่นัดพบ

ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ  พบได้ทุกภาค  ในภาคอีสานจะพบตัวมันได้ตอนหน้าฝน ตามต้น ส้มเสี้ยว
หรือต้น ชงโฆ  ต้นแก  ต้นถ่อน และต้นยูง ต้นยาง ต้นกะทัน   หรือแม้กระทั่ง ป่าละเมาะทั่วไป

วงจรชีวิต

วงจรชีวิตนานประมาณ 1 ปี ช่วงระยะตัวแก่จะมีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงตุลาคม แต่ช่วงพบตัวแก่สูงสุดคือช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง กรกฏาคม ระยะตัวอ่อนจะพบตลอดทุกเดือนตลอดปี และในแต่ละเดือน
ก็พบตัวหนอนขนาดต่างๆ ทั้งขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ เดือนที่พบตัวหนอนมากและเห็นชัดคือช่วงปลายฤดู ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน ตอนช่วงเป็นตัวนอน จะอยู่ตามใต้เปลือกไม้ ในโพรงเยื่อไม้  กินเปลือกและเยื่อไม้เป็นหลัก เมื่อโตเป็น
แมงสำลีเต็มวัย จะกินดอกไม้  ยอดอ่อนแทน

แมงสำลีนำมากินเป็นอาหารไม่ได้ เนื่องจาก ขิว มีกลิ่นฉุน และมีสารที่เป็นพิษ อย่างไรก็ตาม
แมงสำลีเป็นแมลงที่มีสีสัน สวยงาม ตัวอ่อนของมันเป็นอาหารของนก และสัตว์เลื้อยคลานตามธรรมชาติ
ส่วนมากนำปีกมันมา ประดับกระติบข้าว คู่กันกับปีกแมงทับ

เนื่องจากเป็นแมลงที่สวยงาม จึงเคยแสดงแบบบนแสตมป์ไทย ปี พ.ศ. 2532 (แสตมป์ราคา 3 บาท)

แมงสำลี หมายถึงความ หลากหลายทางชีวภาพ ที่สมบูรณ์  แม้จะเป็นศัตรูพืช แต่มันก็มีศัตรูตามธรรมชาติ
ไม่น้อย เพื่อเติมเต็มในห่วงโซ่อาหาร


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*