การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์

ในภาคอีสานบ้านเรา ถ้าพูดถึงปูนา หรืออยากนำปูนามาประกอบอาหาร ก็แค่หยิบเสียมไปขุดเอาตามท้องไร่ท้องนา ใกล้ๆคันแทนา หรือ คูนา คูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ปัจจุบันนี้เนื่องจากมีการใช้สารเคมีมากขึ้น ทำให้จำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว ปูเริ่มหายากมากยิ่งขึ้น จนทำให้เกษตรกรบ้านเราเกิดไอเดียปิ๊งๆ ที่อีสานร้อยแปดเราจะมานำเสนอในวันนี้ นั่นก็คือการเลี้ยงปูนา เพื่อขายเป็นอาชีพ สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว

โดยธรรมชาติของปูนาแล้ว ในช่วงฤดูฝนใหม่ปูก็จะออกมาจับคู่ หากินในท้องนา สะสมอาหาร ตัวเมียก็จะเริ่มตั้งท้องประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน กรกฎาคม ปูตัวเมียจะมีไข่ในท้องประมาณ 500-1,000 ฟอง  ช่วงนี้หากเรานำแม่ปูมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ที่เตรียมไว้ มันก็จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และเติบโตให้เรานำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้

การสร้างบ่อซีเมนซ์เพื่อเลี้ยงปูนา
ในการทำบ่อซีเมนซ์สำหรับเลี้ยงปูนาแล้วแต่ความสะดวกของเกษตร โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมทำขนาด 2×3 เมตร จะทำเป็นแบบเทพื้นปูน หรือจะเลี้ยงแบบพื้นดินก็ได้ แต่แนะนำให้ทำแบบพื้นปูนแล้วใส่ดินหน้าประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เพื่อให้ปูได้ขุดรู โดยการใส่ดินเข้าไปในบ่อนั้น เทดินแบบลาดเอียง อีกข้างนึงมีน้ำ เลียนแบบบ่อธรรมชาตินั่นเอง หรือจะเทดินทั้งหมด แล้วใส่น้ำในกะละมังก็ได้ แล้วแต่สะดวก

ปลูกพืชพรรณไม้น้ำเพื่อให้เป็นแหล่งอาศัยและเป็นแหล่งอาหารของปูนา อาทิ ผักบุ้ง ผักตบชวา ทำการต่อสปริงเกอร์ หรือ ถ้าไม่มีก็สามารถใช้สายยางธรรมดาเตรียมไว้คอยฉีดน้ำให้บ่อชุ่มชื่นอยู่เสมอ หาเศษไม้ขอนไม้ หรือทางมะพร้าวมาวางในบ่อ เพื่อให้ปูได้อยู่อาศัยหลบซ่อน จากนั้นเราก็ปล่อยปูนาลงเลี้ยง(หาได้จากธรรมชาติหรือซื้อมาก็ได้) 1 กิโลกรัม/1 บ่อ (อัตราส่วนปูตัวผู้และตัวเมียอย่างละเท่าๆกัน)

บ่อเลี้ยงปูนา

บ่อเลี้ยงปูนา

อาหารสำหรับเลี้ยงปูนา

การให้อาหารโดยใช้อาหารปลาดุกเม็ดเล็กเสริมด้วยข้าวสวยหุงสุกคลุกเคล้าให้เข้ากัน หว่านประมาณ 1 กำมือในช่วงเย็นเนื่องจากปูนาจะออกหากินตอนกลางคืน และหมั่นดูแลบริเวณที่อยู่ของปูให้สะอาดโดยต้องเก็บเศษอาหารที่ปูกินไม่หมดทิ้ง และเก็บปูที่ก้ามหลุดออกเนื่องจากจะส่งผลให้โดนปูตัวอื่นมารุมทำร้ายและตายได้ และหากทิ้งอาหารหรือปูที่ตายไว้นานๆจะเกิดกลิ่นเหม็นเน่าและมีเชื้อราเกิดขึ้นทำให้ปูเกิดโรคได้ง่าย

อาหารเลี้ยงปูนา

อาหารเลี้ยงปูนา

ปูนาจะขุดรูเพื่อจำศีล และใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวจากศัตรูธรรมชาติ เมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ปูจะออกมากินอาหารอย่างสม่ำเสมอ และจะผสมพันธุ์อีกครั้งในช่วงต้นฤดูฝนในปีถัดไป

 การเพาะพันธุ์
ปูนาสามารถนำมาเพาะในโรงเพาะฟักเพื่อผลิตลูกปูวัยอ่อนได้เช่นเดียวกับปูม้า หรือปูทะเล บ่อที่ใช้จะเป็นบ่อซีเมนต์ ถังพลาสติก หรือ ตู้กระจก ก็ได้ ขนาดของบ่อก็ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดการของแต่ละท่าน
พ่อแม่พันธุ์
พ่อแม่พันธุ์ ในระยะแรกก็คงต้องรวบรวมจากธรรมชาติ จะเริ่มเพาะจากพ่อแม่พันธุ์ก็ได้ หรือจะใช้แม่ปูที่มีไข่ที่จับปิ้งและมีลูกปูวัยอ่อนที่ติดกระดองอยู่แล้วมา อนุบาล ก็จะประหยัดเวลาและต้นทุนในการผลิตได้มาก
การอนุบาลลูกปู
ในช่วง15วันแรก ควรให้ ไรแดง หนอนแดง เทา หรือไข่ตุ๋น กินเป็นอาหาร หลังจากนั้นควรให้ปลาหรือกุ้งสับอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงลูกปลาดุกก็ใช้ได้ เมื่อมีอายุประมาณ30วันก็สามารถนำไปปล่อยเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์เพื่อ ให้มีขนาดโตเต็มวัยได้ความหนาแน่นที่ปล่อยเลี้ยง ลูกปูในระยะนี้ควรปล่อยเลี้ยงในปริมาณ 10,000 ตัว/เนื้อที่1 ตารางเมตร
การเจริญเติบโต
ปูนามีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบเช่นเดียวกับปูชนิดอื่น ๆ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วปูนาจะลอกคราบประมาณ 13-15 ครั้งก็จะโตเป็นปูเต็มวัย ได้ขนาดตามที่ตลาดการ ต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน
การลอกคราบ
ปูที่จะลอกคราบสังเกตได้จากรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองจะกว้างมากกว่าปกติ เมื่อใกล้จะลอกคราบปูจะนิ่งและเหยียดขาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองก็จะเปิดออก ส่วนท้ายพร้อมกับขาเดินคู่สุดท้ายจะออกมาก่อน ขาคู่ถัดมาจะค่อย ๆ โผล่ออกมาตามลำดับ ส่วนก้ามคู่แรกจะโผล่ออกมาเป็นอันดับสุดท้าย ระยะเวลาที่ใช้เวลาลอกคราบทั้งหมดประมาณ1ชั่วโมง

และแถมทิ้งท้ายด้วยเพลงเพราะๆ เพลง : ปูนาขาเก ศิลปิน : คัทลียา มารศรี

เนื้อเพลง :ปูนาขาเก
* มีนิทานนมนานกาเล ปูนาขาเกตัวใหญ่ซะไม่มี เอามือไปจับปูก็งับทันที จะทำยังไงเอาไม้ไล่ตี
ตีก็ตีไม่ถูก ถูกก็ไม่ตั้งใจตี ปูมีขามากมายแต่ทำไมหัวปูมันไม่มี ปูมีตาข้างตัว แต่ทำไมหัวปูมันไม่มี
โบราณท่านเคยสั่งสอน เป็นอุทาหรณ์สอนใจ ตัวเองยังไม่เท่าไร อย่าเที่ยวไปติติงใครเขา
เหมือนแม่ปูพร่ำสอนลูกปู เดินอย่าเซเฉไปไม่เอา แม่เธออับอายใครเขา ว่าไม่สั่งสอนพวกเจ้าให้ดี
แม่ปูจึงเดินให้ดู ลูกปูไม่เข้าใจจริง ๆ เดินเท่าไร เท่าไร ก็ไม่ตรงสักทีอยู่ดี
แม่ปูพร่ำสอนลูกปู เดินให้ดูตัวอย่างแม่นี้ ลูกปูก็งงอยู่ดี กี่ทีกี่ที ก็ขาเกเซมารู
(ซ้ำ *, *)
ปูมีตาข้างตัว แต่ทำไมหัวปูมันไม่มี


25 ความเห็นที่มีต่อการเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*