หมวดหมู่ : คลังความรู้

อีสาน ความหมายและที่มา

คำว่า อีสาน เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤตว่า อีศาน (อ่านว่า อี-สา-นะ) คำว่า อีศาน ในภาษาสันสกฤตเขียนด้วย ศ แต่คำว่า อีสาน ในภาษาไทยเขียนด้วย ส

ในภาษาสันสกฤต อีศาน (อ่านว่า อี-สา-นะ) แปลว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พระศิวะหรือพระอิศวร แต่ในภาษาไทย อีสาน หมายถึง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เหตุที่ภาษาไทยนำพระนามของพระศิวะมาเรียกเป็นชื่อทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะตามความเชื่อของอินเดีย ทิศนี้มีพระศิวะเป็นเทพผู้คอยปกปักรักษา

คำว่า อีสาน มักใช้เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของประชาชนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อาหารอีสาน วัฒนธรรมอีสาน ดนตรีอีสาน อักษรไทยอีสาน และปรากฏในคำว่า ไส้กรอกอีสาน แต่เมื่อใช้ว่า ภาคอีสาน หรือ คนอีสาน ถือเป็นคำลำลอง คำที่เป็นทางการจะใช้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชาชนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ที่มา

แชร์
เซียงเหมี่ยง

เด็กผู้ชายบ้านนอก ที่เกิดและโตท่ามกลางความเป็นอีสาน จนซึมซับกลายเป็นความชื่นชอบและสนใจในประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และอีกหลาย ๆ อย่าง จนได้นำสิ่งเหล่านี้มาบอกเล่าในเว็บไซต์ อีสานร้อยแปด นั่นเอง