อ้มคืออะไรในกลอนลำดาวเหนือทำไมได้ยินบ่อย ๆ อีสานร้อยแปดเราเลยแปลมาให้แล้ว มันคืออย่างงี้นี่เอง ถึงบางอ้อกันเลยทีเดีย
หลาย ๆ คนที่เป็นแฟนคลับภาษาอีสาน และโดยเฉพาะสายหมอ(ลำ) ถ้าได้ฟังกลอนลำดาวเหนือ (อาจารย์สังวาลย์น้อย ดาวเหนือ) มักจะได้ยินคำว่า “อ้ม” บ่อย ๆ แล้วก็น่าจะเกิดข้อสงสัยอยู่เหมือนกันว่าอ้มมันคืออะไร วันนี้ทีมงานอีสานร้อยแปดเราก็เลยจะมาคำตอบกัน
สรุปแล้วอ้มหนิมันเป็นพืชหรือว่าสัตว์ชนิดไหนกันแน่ ทำไมกลอนลำถึงได้พรรณาถึงความหอมเอาไว้มากขนาดนี้
ความหมายของคำว่าอ้ม ในฐานข้อมูลคำศัพท์ภาษาอีสาน ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลมาจากหนังสือพจนานุกรมภาษาอีสานโดย ดร.ปรีชา พิณทอง ได้ให้ความหมายไว้ว่า
อ้ม แปลว่า ชื่อพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ใบหอมคล้ายใบเนียม แต่ใบใหญ่กว่า ใช้นึ่งมีกลิ่นหอม ใช้อบผ้าหรือเหน็บหู อย่างว่า อ้มเอยอ้มอย่าให้พี่นี้จ่มนำหลาย จนลืมแลงลืมงายจ่อยโซโตล้า (กลอน) ป๋าสวนอ้มหนีไปชมหม้อปลาแดก ป๋าเล้าเข้าไว้หนีไปซ้นป่ากลอย (ผญา).
อ้ม ภาษาอังกฤษ : type of bush with fragrant leaves used to perfume cloth.
พจนานุกรมภาษาอีสาน
ในส่วนของอาจารย์สังวาลย์น้อยดาวเหนือ ได้ให้ความหมายไว้ว่า
คำว่าอ้มในกลอนลำหนิ มันหมายถึง หอม กลิ่นหอมที่มีความหอมมาก ๆ อย่างในกลอนลำที่ว่า หอมดอกอ้มชมกลิ่นกระดังงา มาจากที่สมัยก่อนหมอลำเวลาออกเดินสายไปลำ จะต้องเดินลัดเลาะไปตามดง (เดินดง) เดินผ่านป่าได้กลิ่นอ้ม กลิ่นกระดังงา ซึ่งมันมีความหอม อีกตัวอย่างหนึ่งอย่างเช่น เหนอ้ม (อีเหน) ซึ่งจะมีความหอมมาก ๆ หมอลำเลยเอามาใส่ในกลอนลำเป็นการเปรียบเปรย ชมเชยผู้หญิงที่มีกลิ่นหอมว่าเจ้าหอมคืออ้ม
จากคลิปโชคชัยน้อยดาวเหนือ
ทีมงานอีสานร้อยแปดได้ลองสืบค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและสอบถามจากผู้รู้ อยากรู้ว่าต้นอ้มนั้นมันมีหน้าตาเป็นอย่างไร และต่อไปนี้คือภาพของต้นอ้มหรือเนียมอ้มครับ
เท่าที่ทางทีมงานอีสานร้อยแปดค้นหาและตรวจสอบข้อมูล อ้ม หรือเห็นอ้ม นั้น คือชะมดเช็ด โดยเฉพาะไขของชะมดเช็ด ที่มีสรรพคุณกลิ่นหอมที่ติดทนนาน และยังสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของยาหอมได้อีกด้วย แต่กว่าจะได้ไขของชะมดมาไม่ใช่ง่าย ๆ เพราะกว่าชะมดจะเช็ดไขนั้นใช้เวลาค่อนข้างนาน และแต่ละครั้งก็มีปริมาณน้อย ไขชะมดนั้นมีราคาแพงมาก ๆ ขายกันกิโลเป็นแสน ๆ เลยทีเดียว