แตนขี้หมา
ชื่อพื้นเมือง แตนขี้หมา , แตนกระดิ่ง
ชื่อสามัญ Wasp nest
ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucospis japonica
วงศ์ colletidae
อันดับ Hymenoptera
แมลงชนิดนี้เป็นสายพันธุ์เดียวกันกับ มด ต่อ และผึ้ง มีหลากหลายชนิด เราเข้าใจว่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือ Hymenoptera ซึ่งผิด Hymenoptera มีหลากหลายชนิด
นับตั้งแต่มด ไปจนถึง ตัวต่อ จริงๆแล้ว คือชื่ออันดับ หรือ order ของมัน
แมลงชนิดนี้ ( แตนขี้หมา) พบมากได้ในเขตร้อน แถบเส้นศูนย์สูตร
ลักษณะโดยทั่วไป
ลำตัวยาว 1.5 ซม. เอวคอด ลำตัวสีน้ำตาลหรือดำ มีลาย ขาวหรือเหลืองพาด ทำรังไม่ใหญ่นัก
ต่างจากพวกแตนชนิดอื่นคือ ทำรังอยู่กันแบบครอบครัว มากว่าฝูงใหญ่
ขนาดของรังเล็ก มีจำนวนช่องในรังไม่เกิน 20 ช่อง ชอบอาศัยอยู่ตามกิ่งไม้ . ใต้ใบไม้
ที่ไม่สูงเท่าใดนัก พบเห็นได้ง่าย ตามป่าละเมาะ หรือสุมทุมพุ่มไม้ ตามท้องไร่ท้องนา
วรรณะในรัง ประกอบด้วย แม่รัง(นางพญา) แตนตัวผู้ และ แตนงานไร้เพศ
แตนขี้หมาตัวผู้ ไม่มีเหล็กใน เอวคอดผอมบางร่างน้อย แตนงานลำตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย
ก้นต่ง หรือ Big ass ตามศัพท์แสลงของ เมืองผู้ดี ภาษาอีสานเรียกว่า “ท้ายเป”
วงจรชีวิต
งจรชีวิตของต่อและแตนแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
1. ไข่ (Egg) หลังจากต่อนางพญา (Queen) เลือกหาสถานที่สร้างรังแล้วจะสร้างหลอดรวง (Cells) ขึ้นมา
และ วางไข่ในนั้น ไข่จะใช้เวลาประมาณ 5-8 วันก็จะฟักเป็นตัวอ่อน
2. ตัวอ่อน (Larva) หลังออกจากไข่นางพญาจะทำหน้าที่เลี้ยงดูตัวอ่อน หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์
ตัวอ่อนจะสร้างสารปิดหลอดรวง เพื่อจะเปลี่ยนรูปร่างเป็นต่อแตนตัวเต็มวัย
3. ดักแด้ (Pupa) หลังจากที่ตัวอ่อนสร้างสารปิดหลอดรวงแล้ว จะมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลง
รูปร่างอยู่ภายในหลอดรวง เรียกว่าดักแด้ และจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะกลายเป็นต่อแตนตัวเต็มวัย
4. ต่อแตนตัวเต็มวัย (Adult) ตัวต่อที่เพิ่งเกิดใหม่นี้จะเป็นเพศเมีย เรียกว่า ต่อวรรณะกรรมกร (Workers)
นับจากตัวอ่อนไปจนถึงวันละสังขาร ศิริอายุได้ 6 เดือน อนุโมทามิ ขี้ซีทาคุ
ลักษณะเด่นของ แตนขี้หมา
การทำรังที่ซ่อนเร้นสายตาดีนัก ในประเทศญี่ปุ่น (บ้านมิยาบิ) แมลงชนิดนี้
ทำรังในป่าไผ่ แม้แต่ซามูไร นักดาบชั้นยอดเยี่ยมกระเทียมดองยัง”วิ่งหูหลูบ”
เพราะพิษของเหล็กในแมงอันนี้ แม้แต่ท่านเซียนมังกรเดียวก่อน ! ยังหลบหลีก
เหล็กในของแตนขี้หมามีปลายแหลมคมประดุจวาจาของ “ขงจื้อ” ทิ่มแทงเข้าไปในเนื้อของเหยื่อ
แล้วฉีดสารพิษออกมาทางท่อน้ำพิษราวกับเข็มฉีดยา สารพิษดังกล่าวเป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทเดียว
กันกับพิษของแมงมุมและ แมงงอด (แมงเงา ไม่รวมแมงง่องแง่ง)
เด็กน้อยเลี้ยงควาย และสาวส่ำน้อยไปหาฟืน ควรระวัง
ความสำคัญต่อระบบนิเวศน์
แมลงประเภทแตนและต่อ แม้จะมีพิษร้าย แต่ก็มีประโยชน์อนันต์ เป็นตัวห้ำที่คอยกำจัด
หนอนเพี้ย และศัตรูพืชต่างๆ และยังคอยผสมเกสรพืชให้ออกดอกผลดี คอยจัดการ
เพี้ยกระโดด และตัวเบียนพืชนิดอื่น
ความเกี่ยวพันธ์ในแง่วิถีชีวิตชาวอีสาน
แม้จะต่อยให้มนุษย์ได้รับความเจ็บปวด แต่แตนขี้หมาถือว่าเป็นแตนที่มีพิษน้อยที่สุด
การทำร้ายมนุษย์เพียงแค่สั่งสอน อย่าละเมิดบุกรุก บ้านคนอื่น เด็กน้อยเลี้ยงควาย
มักจะโดนประจำ แต่โดยมากแมลงชนิดนี้จะโดน เด็กน้อยเอาไฟเผา เอาลูกน้อย
หรือตัวอ่อนมา เปิบ ถือคติว่า ”ตอดกูติ มึงตาย” บางราย นุ่งเสื้อยีนลีวาย หนาเตอะ
ย่างเข้าไป “ซาวเอาฮังมาเฉย ประสาแตนอันนี้ เรื่องขี้หมาพะนะ
ที่คนโบราณตั้งชื่อว่าแตนขี้หมา เพราะในชีวิตจริงของคนเรา ต้องเจ็บปวด กับเรื่องเล็ก ๆน้อย ๆ
เป็นอาจิณ ยึดถือเป็นสาระ ตีโพยตีพาย ท้อถอยไม่ได้ นั่นคือการสั่งสอนให้ลูกอีสานเป็นนักสู้