ชื่อ แมงโกก, แมงน้ำแก่ง, แมงคันโซ่ ,แมงปอ (เจ้าผู้ครองเวหาศ )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhyothemis sp.
อันดับ ODONATA
ชื่อวงศ์ Libellulidae
ชื่อสามัญ Dragonfly Nymphs
ฝรั่งเรียก Dragonfly เป็นแมลงมีปีก 4 ปีก บางชนิดกินเกสรดอกไม้ บางชนิดกินแมลงด้วยกันเป็นอาหาร บางคนเรียกว่า นักล่าแห่งเวหา เพราะมีความสามารถใน
การบินสูงมาก
แมลงปอสามารถบินได้ไกลถึง 100 ก.ม. การขยับปีกขึ้น-ลง จะใช้ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 500 ครั้งต่อวินาที ในที่นี่ขอเรียกว่า แมลงปอ เพื่อความเข้าใจ เพราะต่างถิ่น ต่างเรียกชื่อไม่เหมือนกัน
แมลงปอในโลกนี้มีอยู่มากกว่า 5,000 ชนิด(species) จัดอยู่ประมาณ 500 สกุล
ซึ่งศาสตราจารย์ G.H.Carpenter ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแมน
เชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แบ่งแมลงปอออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ โดยดูจากลักษณะของเส้นปีก รูปร่างปีก และลักษณะการวางปีกขณะเกาะอยู่ แบ่งเป็น
1. กลุ่มแมลงปอบ้าน มีลักษณะตัวใหญ่ สีเข้ม หัวโต ตากว้างแต่ไม่โปน ปีกคู่หลัง
ใหญ่กว่าปีกคู่หน้า เวลาเกาะจะกางปีกในแนวราบ
2.กลุ่มแมลงปอเข็ม มีตัวเล็กเรียว หรือสั้น ตาโปน ปีกคู่หลังมีขนาดเท่ากับปีก
คู่หน้า เวลาเกาะจะหุบปีก
ในประเทศไทยมีการค้นพบแมลงปอมากกว่า 295 ชนิด
ทางภาคอีสาน กินตัวอ่อนของแมลง ชนิดนี้เป็นอาหาร ซึ่งต่างชนิด ต่างมีลักษณะลูกอ่อน ไม่เหมือนกัน
จึงเป็นที่มา ของความสับสน เรียกชื่อผิด ๆ ถูก ๆ ผู้ตั้งกระทู้ จึงขอสรุป ตัวอ่อน
ของแมลงปอ ที่ทางภาคอีสาน
นำมาเป็นอาหารปะเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้ หวังว่าคงให้ความกระจ่างกันบ้าง
เห็น ถกเถียงกันเหลือเกิน
คือลูกแมงปอนักล่า ในสายพันธุ์แมงปอบ้าน ที่มีขนาดใหญ่ตาโปนสีเขียว มีปีกขนาดใหญ่
ตัวอ่อนของแมงปอสายพันธุ์นี้ มีลักษณะคล้ายตัวหนอนซะมากว่า เรียวยาวกว่า
บรรดา ตัวอ่อนแมงปอทั้งหมด แปลกว่าเขาก็คือไม่มีขา ที่ที่ร้ายกาจคือ มีเขี้ยวที่
สามรถกัดได้ กัดเจ็บเหมือนกัน เรียกว่า” แมงก้องแขน”
ด้วยลักษณะเรียวยาว ไม่มีขา ลำตัวมีสีขุ่น เวลาโค้งเข้าหากันจากหัวกับหาง คล้าย “ กำไล “ หรือ ภาษาอีสานเรียกว่า “ ก้องแขน “
ทั้งตัวยาว 5- 6 ซม. ส่วนมากอยู่ในแม่น้ำใหญ่ ๆ ตามห้วยต้องเป็นห้วยใหญ่
น้ำไม่ขาดทั้งปี หากตามหนอง หรือแหล่งน้ำ เล็ก ๆ ไม่ค่อยพบ
มีลักษณะตัวป้อมๆ ตาโปน ก้นใหญ่ อาจมีกระบังหน้าคล้ายพาย ใช้สำหรับช่วยในการกินอาหาร
มีขา6 ขา เวลาโดนจับ จะใช้กระบังหน้าปิดตาอาไว้ เหมือนอาการคนงุ้ม หรือ ง้ำหน้าหลบ
จึงได้ชื่อว่า“แมงหน้างำ “ และ เพี้ยนมาเป็น “แมงระงำ” ดังที่เรียกขานกัน บางชิดรูปร่างแบน ก้นเรียว
ต่างกันไปบ้าง ตามสายพันธุ์ บางชนิดไม่มีกะบังหน้า ตัวอ่อนชนิดนี้ เป็นตัวอ่อนของแมงปอ ทั่วไป
เช่น แมงปอแดง แมงปอนา ตัวไม่ใหญ่และยาวเท่าใดนัก ประเภทนี้มีมากที่สุด มีตามแหล่งน้ำทั่วไป
ลูกของแมงปอเข็ม แตกต่างจากทั้ง 2 ชนิด มีขนาด เล็ก ลำตัวเรียวหรือแบน แต่ยาวกว่า
แมงระงำ อาจมีสีดำ หรือสีใสขุ่นตามสภาพน้ำที่อาศัย ขบางชนิดลำตัวกลม
สังเกต ชนิดนี้ ไม่มีกะบังหน้า
แมงปอ มีชีวิตส่วนใหญ่ในน้ำ อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป ตัวอ่อนแมลงปอใช้ชีวิตนานอยู่ในน้ำนาน
1-3ปีเมื่อถึงวัยหนึ่ง จะขึ้นมาลอกคราบ กลายเป็นแมงปอ และจะลอกคราบ ประมาณ
5 – 6 ครั้ง เจริญพันธุ์เป็นตัวเต็มวัยกินลูกน้ำ สัตว์น้ำเล็ก ๆ และลูกอ๊อดเป็นอาหาร
บางครั้งก็กินพวกเดียวกันเอง บางสายพันธุ์กินพืช
แมลงปอมักผึ่งปีกในเวลาแดดตอนสาย เมื่อปีกแห้งจึงบินได้ ไปล่าเหยื่อ ผสมพันธุ์ใน
หน้าฝน ช่วงเดือน มิ.ย. ก.ค. วางไข่ตามแอ่งน้ำ แล้วก็ สิ้นอายุขัย
แมงน้ำแก่ง ,แมงโกก , แมงคันโซ่ หรือ แมลงปอ ตามแต่จะเรียก กินลูกของสัตว์น้ำ และ ตัวอ่อนของแมลงเบียนพืชทั้งหลายเป็นอาหาร ตลอดจนลูกน้ำ ตัวอ่อนของยุงเป็นของโปรด
อีกทั้งช่วงอายุตอนอาศัยในน้ำยังเป็นอาหารของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ทั้งกบ เขียด ปู ปลา
ประดุจดัง “แพลงตอน” ผู้โบยบินจากฟ้า
ชุบเลี้ยงผืนน้ำ ในอีสาน อีกทั้งยังสามารถแปลงโฉมจาก ผู้ถูกล่า มาเป็นนักล่าได้ ในช่วงท้ายของวงจรชีวิต
นับว่าเป็นแมลงที่มีประโยชน์ยิ่ง ต่อระบบนิเวศน์โดยแท้ ความสามารถในการปรับตัวของมัน ทำให้
อยู่รอดมาได้จนทุกวันนี้ เรารู้หรือไม่ แมลงปอ กำเนิดและอยู่มานานก่อนจะมีมนุษย์ ไดโนเสาร์ล้มตาย
สูญพันธุ์ แต่ แมลงปอ ยืนหยัดได้ จึงไม่แปลกที่ เทคนิคการบิน ของแมลงปอ ถือว่าเป็นสุดยอด
เป็นจ้าวเวหา ที่มาแห่งความอร่อยล้น เลี้ยงดูชาวอีสานให้มีอาหารการกิน ไม่ว่าแล้ง หรือ ฝน
เมื่อฤดูแล้งย่างกราย แผ่นดินอีสาน อาหารการกินหายาก แหล่งน้ำประจำหมู่บ้าน เช่น ห้วยหนอง , บึง
พ่อแม่ พาลูกเต้า ไปหา “ส่อน” ( ช้อนเอา ) ตัวอ่อนแมลงเหล่านี้เป็นอาหาร ทั้ง แมงระงำ แมงก้องแขน
แมงเหนี่ยว แกง หรือหมกใส่ใบตอง รวมกับแมลงน้ำชนิดอื่น กินเพื่อยังชีพ อยู่อย่างพอเพียง
เอาตัวรอดจากฤดูกาล
เมื่อถึงคราวเข้าหน้าฝน สังเกตแมลงชนิดนี้ โบยบินเป็นกลุ่ม บินวนท้องฟ้า ดาษดา
เพิ่นว่า ไม่เกิน 2 วัน ฝนใหญ่สิตก วางแผนหาแช่เข้าปลูก หรือ หาป้านคันนาไว้ เก็บกักน้ำ
ยามนั่งเผ้าตากล้า อยู่เถียงนาน้อย แมงปอ บินจับปลายไม้แห้ง ริมหนอง ดวงตาเกลือกกลิ้งแนมฟ้า
ชวนให้จิตใจ ใสเย็นสงบ ดังสายลมที่พาพัด แมงปอน้อยลอยล่อง อนึ่ง จำนวนของแมลงปอแต่ละปี
คนอีสานโบราณใช้ทำนาย น้ำมาก หรือน้อยได้ นั่นแสดงว่า สายตาแห่งชาวอีสาน เมื่อมองทอดสู่ทุ่ง
ย่อมเห็นแมงปอ กับยอดต้นข้าว ล้อลิ่วกับสายลม เสมอ