แมงข้าวสาร

ชื่อ  แมงข้าวสาร ( ยามเผ้าตรวจแห่งผืนน้ำ )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cybister limbatus   Fabricius
อันดับ         Coleoptera
ชื่อวงศ์        Dytistidae
ชื่อสามัญ  True water beetle และ Predaceous diving beetle
ชื่ออื่น  แมงข้าวสาร
ประเภทสัตว์  แมลง , สัตว์น้ำ

ลักษณะทางกายภาพ

แมลงขนาดเล็กลำตัวป้อมเท่าเม็ดข้าวสาร มีสีเทาสลับดำ  แมลงปีกแข็งขนาดเล็กอยู่ในน้ำจับได้โดยใช้สวิงช้อน ชอบบินมาเล่นแสงไฟเวลากลางคืน นำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น คั่ว ทอด แกงใส่หน่อไม้ส้ม  หมก หรือตำเป็นน้ำพริก ขนาดโตเต็มวัยมีขนาดเท่ากับเล็บหัวนิ้วโป้ ( เล็บหัวแม่มือ ) มีเส้นสีเหลืองรอบๆ ลำตัว

แมงข้าวสาร

แมงข้าวสาร

แหล่งที่พบ

ด้วงน้ำมักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง บางครั้งสามารถพบได้ในน้ำหลาก แต่พบไม่มากนัก เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง นาข้าว แม่น้ำลำธารทั่วๆ ไป อาศัยตามหัวหญ้า  แพจอก แพแหน  ริมหนองน้ำ  ไม่ชอบอยู่น้ำลึก
บางคนแยกไม่ออก ระหว่าง แมงตับเต่า  กับ แมงข้าวสาร   จริงๆ แล้ว
เป็น แมลงใน สปีชีย์ เดียวกัน  ข้อสังเกตคือ
แมงข้าวสาร มีขอบเส้นสีเหลืองรอบลำตัว ขนาดเล็กกว่าแมงตับเต่า  และ ไม่มีหนอกแหลมที่ใต้ท้อง
เหมือนแมงตับเต่าลำตัวเรียวบางกว่า ไม่มีกลิ่นฉุนเหมือนแมงตับเต่า

ประโยชน์และความสำคัญ

ชาวบ้านนิยมนำแมงข้าวสาร มาแกงใส่รวมกับแมลงกินได้ที่อาศัยอยู่ในน้ำชนิดอื่นๆ เช่น แมงหน้างำ
แมงเหนี่ยว แมงก้องแขน  แมงตับเต่า  แกงใส่ผักอีตู่ อาจจะใส่หน่อไม้ส้ม ( หน่อไม้ดอง )
หรือ อุ  ใส่ผักอีตู่    หรือ หมกใส่ใบตอง รวมกับแมลงที่กล่าวมา  แซบอีหลี

การหาเอาแมงข้าวสาร

ช่วงเดือน พฤศจิกายน  – กุมภาพันธ์  น้ำแห้งขอด  ชาวอีสาน มักไปหา “ส่อน” โดยใช้ “เขิง”  หรือ ใช้วิธี
“ ล่องแหย่ง “ หรือ ลาก “ดางเขียว”  ตาม ห้วยหนองคลอง บึงที่น้ำน้ำเหลือน้อย  ซึ่งมักจะมี แมงอันนี้ติดมาด้วย
หากเป็นฤดู น้ำหลาก จะใช้วิธี “ ตึกสะดุ้ง” หรือ “ยกยอ” เพื่อหาเอาแมลงชนิดนี้
วงจรชีวิต และ ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ
ไม่มีการศึกษา วิจัย อันเป็น องค์ความรู้ เนื่องจาก บัณฑิต ในปัจจุบัน  จบสาขากฎหมาย เยอะที่สุด  ต่างมุ่งเน้น บัญญัติ
กฎให้คนอื่นทำตาม  หาได้สนใจกฎแห่งธรรมชาติไม่  จึงเป็นการมุ่งความสนใจไปที่กฎหมายและกฎหมู่  ฟาดฟันกัน
ดังเห็นได้จาก บ้านเมืองเฮา ในยุคเริ่มก้าว สู่  ESANIA

อย่างไรก็ตาม ก็มีการศึกษา เกี่ยวกับเรื่องราวของ แมลงชนิดนี้ อยู่บ้าง แต่เป็นเพียง ข้อมูลเชิงระนาบ
มิได้เป็นฐานข้อมูล อันจะเป็น แบบแผน เพื่อพัฒนาการดำรงชีวิต ให้สอดคล้องกับ
วิถีห้วยหนอง คลองบึงเท่าใดนัก
การพัฒนาแหล่งน้ำ ตามที่เพิ่นเข้าใจกัน ก็ คือ จกให้ลึก  ขอบให้แปน  กักน้ำได้นาน
ไม่มีอะไรอาศัยอยู่ในนั้นก็ช่าง  นอกจากปลาซิว


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*