พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์

พระธาตุยาคู

อีสานร้อยแปดวันนี้จะพาพี่น้องไปชมความงดงามและสัการะพระธาตุยาคู ที่ตั้งอยู่ บ้านเสมา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง

ผังเมืองฟ้าแดดสงยาง

ผังเมืองฟ้าแดดสงยาง

เมืองฟ้าแดดสงยาง หรือที่เรียกเพี้ยนเป็นฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกว่า เมืองเสมา เนื่องจากแผนผังของเมืองมีรูปร่างคล้ายใบเสมา เป็นเมืองโบราณ ที่มีคันดินล้อมรอบสองชั้น ความยาวของคันดินยาวโดยรอบประมาณ 5 กิโลเมตร คูน้ำจะอยู่ตรงกลางระหว่างคูดินทั้งสอง
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ทำให้ทราบว่ามีการอยู่อาศัยภายในเมืองมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และได้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยทวารวดีราวๆพุทธศรรษวรรษที่ 13 -15 ดังหลักฐานทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏโดยทั่วไปทั้งภายในและภายนอกเมือน เช่น ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพเรื่องชาดกและพุทธประวัติจำนวนมาก บางส่วนเก็บไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเสมาราม ซึ่งอยู่ภายในเมือง บางส่วนยังคงอยู่ในตำแหน่งดั้งเดิมที่พบ และบางส่วนก็นำไปเก็บรักษาและจัดแสดงพี่พิพิธภรรฑสถานแห่งชาติ จ.ขอนแก่น นอกจากนั้นยังมีซากศาสนากระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกเมือง เช่น พระธาตุยาคู และกลุ่มเจดีน์บริวาร ศาสนสถานที่วัดโนนสูงโนนฟ้าหยาด โนนฟ้าแดด เป็นต้น
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียน เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นโบราณสถานของชาติ โดยประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอน 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2479

องค์พระธาตุยาคู

องค์พระธาตุยาคู

พระธาตุยาคู เดิมเรียกว่า ธาตุใหญ่ เป็นสถูปเจดีย์ในสมัยทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15 ) มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด ในบรรดาโบราณสถานในเมืองฟ้าแดดสงยาง ยังปรากฏร่องรอยของฐานที่สร้างในสมัยแรก เป็นฐานสี่เหลี่ยม เดิมมีลวดลายปูนปั้นประดับ ปัจจุบันหลุดออกหมด และได้นำไปจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภันฑสถานแห่งชาติ จ.ขอนแก่น แผนผังของพระธาตุองค์เดิม เปรียบเทียบได้กับศาสนสถานแบบทวาราวดีที่พบทางภาคกลาง เช่นที่อำเภออู่ทอง จ.สุพรรณบุรี และที่อำเภอคูบัว จ.ราชบุรี


รูปขององค์เจดีย์ ได้ถูกก่อสร้างเปลี่ยนแปลงไปในสมัยหลังที่เป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม บนฐานสี่เหลี่ยมเดิม และกรมศิลปากรได้ทำการบูรณะครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2526 และครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2539 ได้พบเสมาหินทรายหลายใบรอบองค์พระธาตุ ยังปรากฏซากฐานเจดีย์ขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐอีกทั้งสิ้น 8 องค์ กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระธาตุยาคู เป็นโบราณสถาน โดยประกาศในราจกิจจานุเบกษาเล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2480 และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2525 พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ 2 งาน

บูชาพระธาตุยาคู

บูชาพระธาตุยาคู

ลักษณะขององค์พระธาตุยาคูเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ รอบ ๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน

คาถาบูชา พระธาตุยาคู

คาถาบูชา พระธาตุยาคู

และสำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการเดินทางไปชมและสักการะองค์พระธาตุยาคู สามารถเดินทางไปตามแผนที่นี้เลยครับ


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*