ซุบบักมี่
ชื่อพื้นเมือง ซุบบักมี่
ชื่อภาษาไทย 4 บักมุบ
ชื่อภาษาอังกฤษ Soup Perfect Plants อักษรย่อ SPP.
ความเป็นมา
บักมี่ หรือ ขนุน เป็นพืชที่มีมานานในถิ่นนี้ กระจายพันธุ์ไปจนถึง เอเชียใต้ ตามหลักฐานบันทึกฝรั่งลงเรือ
พบมันมีมากในแถบ มลายู ชื่อฝั่งของมันคือ jackfruit เรียกตามชาวโปตุเกส ที่ถามชาวมาเล ว่า
“นี่ลูกอะไร “
“อ้อ ลูก แจ๊กก้า “ ชาวมาเลตอบ
“ อืมม..ผลแจ๊ค “ จดลงกระดาษ มุบ ๆ กันลืม
ที่ชาวอีสานเรียกขนุน ว่า บักมี่ เพี้ยนมาจากคำว่า “ บักหมี” เหตุเพราะสมัยโบราณเห็นหมีควาย
ปีนเอาผลไม้ชนิดนี้มากิน จึงเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า “ บักหมี” จนในที่สุดเป็น บักมี่ เหมือนในปัจจุบัน
ผลสุกของมันหอมไปไกล 500 เมตร ไม่มีใครได้กลิ่นแล้วบอกว่าเหม็น
บักมี่ นำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เป็นทั้งผัก และ ยารักษาโรค เปลือกนำมาต้มย้อมผ้าจีวร
น้ำยางของมัน นำมาผสมกับยางไม้อื่น เป็น “ตั๋ง “ ใช้ ติดจักจั่น
ใช้ผสมกับน้ำมันยาง(ยางนา) ผสมกับ “ขี้ C “ใช้” ยาคุ” “ยาเฮือ” “ยากาละมัง มหาอุด
บักมี่ เป็นต้นไม้ เพศผู้ เพราะมัน “มีหำ” สัตว์ต่างๆ กินบักมี่เป็นอาหาร
นับตั้งแต่ ลิงค่าง บ่าง ชะนี หมี อีเกีย แมลงและคน ไปจนถึง ฤาษี
เมล็ดของมัน นำมาต้มกินเป็นของคบเคี้ยวได้ อีกต่างหาก นี่สิ Perfect
ส่วนประกอบอาหาร ( สูตรป้าหน่อย )
บักมี่ฝ้าย ( ผลกำลังหนุ่ม ไม่เอาผลหลอด )
ถั่วปี ( ถั่วฝักยาว )
หัวหอมแดง
งาคั่ว
ข้าวคั่ว
บักเผ็ด ( พริก )
น้ำปลาแดกต้ม
กระเทียม
เกลือสินเธาว์เมืองเกินร้อย
กบนา 2-3 ตัว หรือ ปลาค่อ ก็ได้
ผักบั่ว ผักหอมป้อม ผักอีเสิม (สะระแหน่ ) ผักหูเสือ แตงกวา ผักติ้ว
เสริม น้ำปลา กับ ผงนัว
วิธีทำ
เสาะหาบักมี่ โดยธรรมดามักจะให้สาวพรหมจรรย์ ขึ้นไปเก็บผล บักมี่ โดยเลือกเอาผลพอเหมาะ
ไม่อ่อน ไม่แก่เกินไป สำหรับคนขึ้น อย่าลืมใส่ กกน .เป็นเด็ดขาด
1.ผ่าบักมี่ ลอกกาบออก ฝานเป็นงีม แล้วนำไปต้มให้สุก ใส่ถั่วฝักยาวลงต้มด้วยกัน
2.ต้มกบ ในท่า “ขัดสมาธ” ถือว่าเป็น เทคนิคของกุ๊กอีสาน ใส่เกลือนิด ๆ
3. ฆ่างัว คั่วงาไว้ แล้วตำให้ละเอียด หอมกรุ่นกลิ่นงา
4. คั่วข้าวคั่ว แล้วตำให้ละเอียดพองาม อย่าให้ละเอียดมากนัก กุ๊กระดับตำนานอีสาน
จะควงสากเป็นประทักษิณ ( เวียนขวา ) 3 รอบก่อนลงมือตำข้าวคั่ว
5.คั่วพริก หัวหอมแดง กระเทียม แล้วนำไปตำให้ละเอียด กุ๊กระดับตำนาน เวลาตำจะทำหน้าเอียงซ้ายนิด ๆ
เพื่อหลีก การ “ ฟ้ง” ของพริกและของที่กำลังโขลก ใช้มือซ้าย ป้องปากครกไว้หน่อยหนึ่ง
ป้องกัน “หอมสะเดิด” ออกจากครก
7.นำกบ “ขัดสมาธ” ซึ่งได้สมาธิ ฌาน 4 เหลือแต่ อภิญญา 6 จึงต้องตำใส่ครก รวมกัน
8. นำบักมี่ที่ต้มสุกแล้ว มา”บิ”ออกเป็น “เปี่ยง” แล้วตำ ใส่ถั่วฝักยาว ตำลงไปอีก
9.นำงามาโรย แล้ว “ คะลน” ให้เข้าเนื้อ
10.โรยข้าวคั่วลงไป “คะลน” อีกที
11 ปรุงรสด้วย น้ำปลาแดกต้ม ผงนัว
12. ตักออกมาตกแต่งกับผักต่างๆ ในสำรับให้ดูน่าทาน
เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับเมนูนี้
ในสมัยมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่น บุกขึ้นฝั่งใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ
แม้แต่ในจังหวัดสกลนคร ยังมีทหารญี่ปุ่นตั้งค่ายในพื้นที่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
มีกองทหารญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งกำลังบำรุงไปยังจุดต่างๆ ทหารญี่ปุ่นตั้งค่าย ในทุ่งนาแห่งหนึ่ง
ใกล้กับตัวอำเภอ ในขณะนั้นเป็นฤดูแล้ง อีสานหน้าแล้งนั้น แร้นแค้นอาหารการกิน
ทหารญี่ปุ่นซึ่งคุ้นเคยกับมหาสมุทร และอาหารทะเล พอมาเจอทุ่งนาหน้าแล้งอีสาน
ประสบปัญหากับการกินอยู่โดยกันดาร หิวโซ ระบบส่งอาหารที่จะส่ง “ซูชิ” มาจากแดนไกล
ถูกตัดขาด กลยุทธทางทหารเพื่อให้อยู่รอด เมื่อประสบกับภาวะเช่นนี้ คือการผูกมิตรกับชาวถิ่น
เพื่อให้กองทหารมีอาหารการกินให้พอรอดพ้น
ชาวบ้านอีสานเห็นกองทหารญี่ปุ่นอดอยาก หิวไส้แห้ง จึงทำอาหาร “ ซุบบักมี่” ไปให้กิน
ชาวญี่ปุ่นได้ลิ้มรส ”ซุบบักมี่” ที่เป็นของแซบอีสาน ถึงกับน้ำตาร่วง
วางดาบคำนับ “พาโตก” คำนับชาวบ้านด้วยความเคารพ แซบหลาย
ทั้งอร่อย ทั้งซึ้งในน้ำใจ มิตรภาพไทยอีสานกับ ญี่ปุ่น จึงเบ่งบาน แม้ในยามสงคราม เพราะซุบบักมี่
ผู้พัน ทากาชิ นาบุโระ นำพากองทหารเข้าผูกมิตรกับชาวบ้าน โดยตั้งค่าย และสร้างหมู่บ้านขึ้น
ให้ชาวบ้านได้อยู่ เมื่อทหารย้ายออกไป หมู่บ้านนั้น จึงถูกเรียกว่า “ นาโบโหละ” หรือ “นาบุโระ”
เรียกตามชื่อของผู้พัน ผู้มีน้ำใจงาม ทากาชิ นาบุโระ
หมู่บ้านนาบุโระ ตั้งอยู่มาช้านานนับจากนั้น จนถึงสมัยที่มีการสร้าง ถนนหนทางต่างๆ
ซึ่งมีการสำรวจ และทำแผนที่ต่างๆ ในประเทศ ต้องมีการกำหนดจุดพิกัด หมู่บ้าน ตำบล
และอำเภอต่างในแผนที่ เจ้านายในสมัยนั้น ถามว่า หมู่บ้านนี้ ชื่ออะไร
ชาวบ้านตอบ “ บ้านนาบุโระ “
อุวะ ถิ่นอีสานกันดารแบบนี้ จะมีชื่อหมู่บ้านเป็นญี่ปุ่นได้อย่างไร เสียหมา ชะมัด
ท่านจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “ บ้านนาเมือง “ ปรากฏในแผนที่
แต่ชาวบ้านแถบนั้นยังเรียก หมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านนาบุโระ” จวบทุกวันนี้
สชาติของ “ซุบบักมี่” คือ หอมงา หอมข้าวคั่ว มันจากถั่วฝักยากต้มบด และนัวแซบจากบักมี่ต้ม
รวมๆ กับคือ รสชาติ “ อูมามิ” ผสมกับกินผัก รสฝาด รสเปรี้ยว เข้ากันได้ดี อีสานแท้ๆ แม้ไม่ทาอะไร
อย่างไรก็ตาม อาหารเมนูนี้ ชาวลานนาก็ทำกินกันเหมือนกัน คาดว่าคงได้รับการถ่ายทอดจากอีสาน
บักมี่ หรือ ขนุน ตามความเชื่อของไทย เป็นพืชมงคล ปลูกไว้ประจำบ้านช่องห้องหับเป็นการดี
นั่นเพราะ เราจะได้มีโอกาสลิ้มลอง “ซุบบักมี่” อาหารวิเศษของเทพอีซาเนีย
ลองแล้วจะติดใจ เหมือน ผู้พัน ทากาชิ นาบุโระ คำนับ “พาโตก”