ขี้หมูกินหัว ขี้วัวกินใบ ขี้ไก่กินผล
สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวเกษตรกรหรือไม่เป็นเกษตรกรแต่สนใจหันมาเริ่มปลูกผักอินทรีย์ก็คงจะมีความสนใจหาข้อมูลในการใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ วันนี้เราก็เลยจะมานำเสนอภูมิปัญญาเกษตรกรชาวบ้าน เคยได้ยินแต่คนเฒ่าคนแก่พูดถึงการใช้ปุ๋ยคอกว่า “ขี้หมูกินหัว ขี้วัวกินใบ ขี้ไก่กินผล” บางที่ก็เพี้ยน ๆ ไปว่า “ขี้หมูให้หัว ขี้วัวให้ใบ ขี้ไก่ให้ลูก” แต่ก็ความหมายเดียวกัน เราก็เลยจะมานำเสนอในแง่มุมของทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่ จะเป็นยังไงไปติดตามอ่านกันเลยครับผม
คือ ปุ๋ยที่ได้จากขี้หมูจะมีธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงราก หัวของพืช เช่น มันสำปะหลัง มันแกว แครอท มันฝรั่ง ขิง ข่า กระชาย เป็นต้น เหตุผลที่ปุ๋ยจากขี้หมูช่วยบำรุงหัวของพืชก็เพราะว่ามีธาตุอาหารหลักอย่างโพแทสเซียม (K) อยู่มากนั่นเอง
คือ ปุ๋ยจากขี้วัวจะมีธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงใบของพืช สำหรับผักต่าง ๆ ที่เราจะทานใบเช่น ผักกาด ผักคะน้า ผักหอม ผักชี ฯลฯ จึงเหมาะที่จะนำขี้วัวไปใส่เพื่อการบำรุงใบโดยเฉพาะ
เหตุผลที่ปุ๋ยขี้วัวเหมาะสำหรับพืชกินใบก็เพราะว่ามีมีสัดส่วนของไนโตรเจน (N) ที่เยอะ ช่วยบำรุง เร่งเขียว เร่งใบ
ปุ๋ยขี้ไก่มีธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงผลของพืช เช่น ผลไม้ต่าง ๆ มะม่วง มะกรูด มะนาว มะพร้าม ส้มโอ แตงโม ฯลฯ หากปลูกพืชกินลูก จึงเหมาะที่จะเอาปุ๋ยขี้ไก่ไปใส่
ส่วนเหตุผลที่ขี้ไก่เหมาะกับพืชกินผลเพราะมีสัดส่วนของฟอสฟอรัส (P) อยู่เยอะ บำรุงดอก เร่งดอก เร่งผล นั่นเอง
ตารางธาตุอาหาร ปุ๋ยคอก
ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยขี้หมู ขี้วัว และ ขี้ไก่ จะมีสัดส่วนไม่เท่ากัน ข้อมูลนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพการเลี้ยงของเกษตรกร
ไนโตรเจน (N) ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช
ไนโตรเจน สัญลักษณ์ (N) เป็นธาตุอาหารหลักของพืช ช่วยบำรุงใบ ลำต้น ยอดอ่อน ในช่วงแรก ๆ ของพืชทุกชนิดจะต้องการธาตุอาหารชนิดนี้ จากตารางข้อมูลปริมาณธาตุอาหารเราจะพบว่ามีในปุ๋ยคอกทุกชนิด ทั้งขี้หมู ขี้วัว และ ขี้ไก่
เมื่อพืชขาดธาตุอาหารหลักอย่างไนโตรเจน (N) จะมีลักษณะแคระแกรน ใบเหลือง ร่วงหล่นเร็ว บางครั้งร่วงเยอะจนหมดต้นไปเลยก็มี ทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโต ออกออกออกผลช้า ไม่สมบูรณ์ ถือว่าเป็นธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญมาก
ฟอสฟอรัส (P) ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช
ฟอสฟอรัส สัญลักษณ์ (P) มีความสำคัญต่อพืช ช่วยบำรุงดอก ผล เมล็ด เหมาะสำหรับไม้ดอกไม้ผล ธาตุอาหารชนิดนี้จำเป็นมากต่อการดำรงของสิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรม RNA , DNA และเนื่องจากธาตุอาหารชนิดนี้มีอยู่ในธรรมชาติน้อยมาก จึงมีปริมาณที่จำกัด
ต้นพืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส จะมีลักษณะต้นแคระแกรน ขอบใบเกิดอาหารม่วงช้ำ ชะงักการเจริญเติบโต ไม่ออกดอกออกผล หรือดอกผลไม่สมบูรณ์
โพแทสเซียม (K) ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช
ฟอสฟอรัส สัญลักษณ์ (K) มีความสำคัญต่อระบบราก หัว เช่น มันสำปะหลัง มันแกว มันเทศ ฯลฯ
สังเกตุได้ง่าย ๆ ว่าพืชจะแห้งเหี่ยวง่าย ใบล่างเหลือง เกิดเป็นรอยไหม้ตามขอบใบ หัวลีบ รากไม่แข็งแรง รากไม่เดิน มะพร้าวเนื้อไม่มัน อ้อยไม่หวานน้ำตาลไม่เยอะ
โพแทสเซียมพบมากในดินเหนียว หากพื้นที่ของเรามีดินเหนียวปนอยู่จะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก
ปุ๋ยคอก ปุ๋ยมูลสัตว์ ควรหมักก่อน ไม่ควรใช้ทันที
ปุ๋ยคอกนั้นมีประโยชน์มาก นอกจากให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับพืชแล้วยังมีอินทรีย์วัตถุซึ่งช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย รากเดินดี หาอาหารเองได้เยอะ แต่ก็ต้องใช้ให้ถูกวิธี โดยจะต้องนำมาหมักหรือตากให้แห้งปล่อยให้ปุ๋ยถูกย่อยสลารโดยจุลินทรีย์เสียก่อน หากนำมาใส่ทันทีนอกจากพืชจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ไม่ได้แล้ว จะเกิดความร้อนเนื่องจากจุลินทรีย์ย่อยสลายปุ๋ยคอกสด บางครั้งความร้อนรวมไปถึงจุลินทรีย์ไปย่อย กินรากพืช ทำให้ต้นเหลือง ใบเหลือง ส่งผลเสียต่อพืชในระยะแรก ๆ อีกด้วย
ปุ๋ยขี้วัว ไม่ควรนำไปใส่สนามหญ้า
ปุ๋ยขี้วัวมีไนโตรเจนสูงเหมาะสำหรับพืชที่ต้องการบำรุงใบ บางท่านเกิดไอเดียว่าจะเอาไปใส่สนามหน้า ให้คำนึงถึงเรื่องวัชพืช เมล็ดหญ้าที่ติดมากับมูลวัว แทนที่หญ้าจะงามอาจจะได้ของแถมเป็นวัชพืชที่ไม่พึงประสงค์ติดตามด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรนำมูลวัวมาใส่สนามหญ้า แต่ถ้าเป็นมูลวัวนม คือวัวขุน โคขุน ที่ไม่ได้กินหญ้าก็สามารถยกเว้นข้อห้ามนี้ได้ครับผม