แมงจินูน (แมงกินูน)

ชื่อ แมงกินูน ( ราชินีแห่งท่งตีนบ้าน )
ชื่อสามัญ scarab beetlc
ชื่อวิทยาศาสตร์ Holotricheasp.
Order colcoptera
FAMILY Searabaeidae

ลักษณะ

แมงกินูนเป็นแมลงปีกแข็งขนาดกลางรูปร่างป้อมหนวดเป็นรูปใบไม้มีขนปกคลุมเล็กน้อย ส่วนหัว อก ขา มีสีน้ำตาลเข้ม ปีกสีน้ำตาลอ่อนกว่าไม่ค่อยเป็นมัน ปีกคลุม ส่วนท้องแต่ไม่ถึงท้องปล่องสุดท้าย อกปล้องที่สองมีขนยาวปกคลุม ขนาดลำตัวยาวประมาณ 22-25 มิลลิเมตร

ที่อยู่อาศัย

ขุดรูอยู่ตามดิน ตามรากไม้ รูมีขุย แต่ขุยไม่กลบปากรู ขุยวางรอบ ๆ ปากรู กลางวันจะหลบแดดอยู่ในรู กลางคืนจะออกหากินโดยบินขึ้นไปเกาะกิ่งใบอ่อนของต้นไม้ ชอบกินใบมะขามอ่อน ใบติ้ว ใบส้มเสี้ยว และใบอ่อนต้นไม้อื่น ๆ ทั่วไป

แมงจินูน
แมงจินูน

การจับแมงกินูน

ชาวบ้านจะหารูแมงกินูนตามดินตามใต้ต้นไม้ พบแล้วใช้เสียมขุดลักษณะถากตัดขวาง แล้วใช้นิ้วแหย่รูเข้าไปทางปากรูว่าไปทางทิศใดพบตัวก็จะใช้มือจับ

หากล่าในเวลากลางคืน ชาวบ้านจะใช้คบหรือไฟฉาย หรือโคมแบตเตอรี่ ส่องหาตัวแมงกินูนจากนั้นใช้กระป๋อง ขวดน้ำหรือกระบอกไม้ไผ่พันกับปลายไม้ยาว ๆ ไปจ่อที่ตัวแมลง ๆ จะปล่อยตัวลงในกระป๋อง ขวด หรือกระบอกไม้ไผ่ หรือใช้วิธีเขย่าต้นไม้ กิ่งไม้ให้แมงกินูนตกลงมา เพราะมันอิ่มมันจะไปไม่เป็น หรือใช้วิธีเอาเสื่อไปปูใต้ต้นไม้ที่แมงกินูนเกาะอยู่ เขย่ากิ่งไม้แมงกินูนก็จะตกลงมาเราก็เก็บเอาใส่ถังและกระป๋องน้ำที่เตรียมมาด้วย

แมงกินูนนำมาเป็นอาหาร ให้โปรตีนสูง ทำให้ชาวบ้านประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคสัตว์อื่น ๆ นอกจากโปรตีนแล้วแมงกินูนยังให้แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสด้วย

การประกอบอาหารบางประเภทจะมีผักพื้นบ้านผสมอยู่ด้วย หลายชนิดซึ่งช่วยเพิ่มสารอาหาร และมีคุณค่าทางสมุนไพร นับเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการบริโภคและกลวิธีการแสวงหาแมลงมาเป็นอาหารด้วย

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ

นำแมงกินูนมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น คั่ว ทอด จี่ (ย่างไฟ) ทำป่น (ตำน้ำพริก) ก้อย ลาบ แกงใส่หน่อไม้ ฯลฯ และยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านได้ ขายในราคาขีดละ 10 กว่าบาท กิโลกรัมเป็นร้อย

ประเภทและวิธีการหาแมงจินูนแต่ละอย่างกะสิพอสรุปได้ ดังนี้

1.แมงจินูนแดงน้อย ลักษณะตัวสีแดงขนาดปานกลานไม่ใหญ่มาก ชนิดนี้จะมีปริมาณมาก หาได้โดยการส่องไฟหาตอนกลางคืนใต้ต้นมะขาม ต้นโก มะม่วง เป็นต้น

2. แมงจินูนหม่น หรือ แมงจินูนแดง ชนิดนี้เวลาส่องไฟหาตอนกลางคืนจะเห็นแป้งสีขาวๆปกคลุมตามปีกมันเอาไว้ ทำให้เรามองเห็นเป็นสีเทาๆหม่นๆแต่เมื่อมันไปขุดรูทำรังแป้งบนปีกมันก็จะลบออกทำให้เราเห็นปีกมันมีสีแดง

3.แมงจินูนแดงใหญ่ ชนิดนี้จะมีเป็นบางท้องที่ คือมีลักษณะคล้ายๆกับแมงจินูนแดงหม่นแต่จะตัวโตกว่า

4.แมงจินูนทอง หรือแมงจินูนเหลี่ยม จะมีลักษณะเป็นสีเขียวมรกตแวววานสวยงาม ตัวขนาดกลาง

5.แมงจินูน อื่นๆ เช่น แมงจินูนดำ ตามต้นยอ ต้นคูน แมงจินูนดำน้อย ตามต้นมะขาม หรือแมงจินูนอื่นๆอีกแล้วแต่ แต่ละท้องที่จะมี
แต่ที่เด่นๆคือ จินูนแดง

ความสัมพันธเชิงลึก

เป็นแมลงที่มีบทบาทสำคัญ ในระบบนิเวศ ช่วยให้ผืนดิน ร่วยซุย เป็นอาหารของ
สัตว์เลื้อยคลานประเภทต่างๆ ในระบบนิเวศ รวมทั้งเป็นอาหารของชาวอีสาน
ปัจจุบันยังมีจำนวนมาก เนื่องจาก ออกลูกคราละมาก ตัว กินอาหารใบไม้ได้หลายชนิด

ซึ่งต่างจาก กุดจี่เบ้า ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กินแต่ขี้งัวขี้ควาย ออกลูกคราละไม่เกิน 11 ตัว
เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
แมงจินูน ในแง่ธรรมชาติ สอนคนอีสานให้รู้ว่า  ตราบใดที่ ยังมีต้นไม้พื้นเมือง
ชีวิตคนอีสานย่อมมีหนทางดำเนิน ตามวิถีตน
ข้อควรระวังคือ  แมงจินูน บ่กินใบยาง บ่กินใบยูคา บ่กินใบปาล์ม  บ่กินใบสบู่ดำ บ่กินใบอ้อย

ตามป่าเต็งรัง แมงจินนูนกินใบอ่อนของพืชในป่าประเภทนี้ เกือบทุกชนิด
เมื่อแมงจินนูน ราชินีแห่งตีนท่ง หายไปจากอีสาน
นั่นคือ เริ่มยุค ESANIA

ปล.คำเตือน

ในการกินคั่วแมงจินูน กะคือ เวลาเฮาเข้าห้องส้วมยามมื่อเช้า เฮาสิล้างส้วมยากจักหน่อย เพราะว่า
ปีกแมงจินูน มันสิบ่ถืกย่อย มันสิฟูอ่องล่อง อยู่ ต้องใช้น้ำราดหลายๆ

วิธีการแก้ไข กะคือ ก่อนกินคั่วแมงจินูน เฮาควร เด็ดปีกมันออก สาก่อน…แล้วกะเคี้ยวให้มันแหลกๆ..

สำหรับผู้ป่วยเป็นริดสีดวงควรงดเว้น กินคั่วแมงจินูน


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*