หน้าแรก / สถานที่ / จังหวัดเลย/อำเภอด่านซ้าย/พระธาตุศรีสองรัก

พระธาตุศรีสองรัก

สถานที่ท่องเที่ยว

พระธาตุศรีสองรักเป็นโบราณปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีความผูกพันกับประวัติศาสตร์ระหว่างกรุงศรีอยุธยาและอาณาจักรล้านช้าง รวมถึงศาสนาความเชื่อของทั้ง 2 อาณาจักร ปัจจุบันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยมี “เจ้าพ่อกวน” เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลองค์พระธาตุ และเป็นสื่อกลางในการประกอบพิธีกรรมติดต่อกับวิญญาณบรรพบุรุษที่สถิตอยู่ ณ พระธาตุ

ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัด 83 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 203 แล้วแยกขวาตรงกิโลเมตรที่ 66 เข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กิโลเมตร จากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กิโลเมตร พระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงสัณฐานคล้ายพระธาตุพนม มีงานนมัสการใหญ่โตทุกปีในช่วงเดือน 6 มีประชาชนเคารพนับถือมาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะธิเบตด้วย

พระธาตุศรีสองรัก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ. 2103 เสร็จในปี พ.ศ. 2106

พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา (สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) กับกรุงศรีสัตนาคนหุต (ปัจจุบันคือเวียงจันทน์ ประเทศลาว)

กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงครองราชสมบัติ ตรงกับสมัยที่พม่าเรืองอำนาจ และมีการรุกรานดินแดนต่าง ๆ เพื่อขยายอำนาจ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงตกลงรวมกำลัง เพื่อต่อสู้กับพม่า จึงทรงกระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน และเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีต่อกัน จึงได้ร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรักเพื่อเป็นสักขีพยาน ณ กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นรอยต่อของทั้งสองราชอาณาจักร

นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะทิเบต หัวนาคปรกสร้างด้วยศิลา องค์พระพุทธรูปสร้างด้วยทองสัมริด มีหน้าตักกว้าง 21 นิ้ว สูง 30 นิ้ว

ทุกวันขึ้น 15 เดือน 6 ชาวอำเภอด่านซ้าย หรือ”ลูกผึ้งลูกเทียน” จะร่วมกันจัดงานสมโภชพระธาตุขึ้น โดยจะนำต้นผึ้ง มาถวายพระธาตุถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นประจำทุกปี

ตำบล/แขวงด่านซ้าย อำเภอ/เขตด่านซ้าย

0 4289 1364

พระธาตุศรีสองรัก

  17.272047,101.143819

ค้นหา

แนะนำสถานที่ใหม่  

สำรวจขอนแก่น  

สำรวจอุดรธานี  

สำรวจสกลนคร  

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*