หน้าแรก / สถานที่ / จังหวัดกระบี่/อำเภอเมืองกระบี่/ถ้ำหมอเขียว

ถ้ำหมอเขียว

สถานที่ท่องเที่ยว

จากคำบอกเล่าของชาวบ้านในท้องถิ่นที่มีการเรียกว่าถํ้าหมอเขียว ในอดีตมีหมอพื้นบ้านคนหนึ่งมีชื่อว่าหมอเขียว ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรเป็นอย่างดีจนชาวบ้านเลื่อมใสและรู้จักกันดี ในละแวกหมู่บ้านหน้าชิงอยู่อาศัยในถํ้าหมอเขียว เมื่อหมอเขียวเสียชีวิตลงชาวบ้านก็เรียกชื่อถํ้าที่หมอเขียวอยู่ว่า “ถํ้าหมอเขียว” ถํ้าหมอเขียวอยู่ในเทือกเขาหินปูนเทือกเขาเดียวกับถํ้าอ่าวโกบ “หน้าชิง” คือ อยู่อีกฟากหนึ่งของกลุ่มภูเขากองและเขาช่องลม ถํ้าหมอเขียวอยู่ทางทิศเหนือของถํ้าอ่าวโกบ บริเวณโดยรอบเป็นที่ราบระหว่างเขา เป็นสวนยางพาราและสวนผลไม้ของชาวบ้าน มีแนวลำรางชลประทานเก่าๆ อยู่ทางทิศตะวันตก ถํ้ามีลักษณะหลืบลึกเข้าไปในผนังประมาณ 3 เมตร ความยาวพื้นที่ขนานไปตามแนวตะวันออก – ตะวันตก ประมาณ 30 เมตร ปากถํ้าหันไปทางทิศเหนือ พื้นที่ของถํ้าแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกมีลักษณะเป็นเพิงผา ส่วนที่สองมีลักษณะเป็นคูหาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของส่วนแรกมีเนื้อที่ประมาณ 9 ตารางเมตร ส่วนที่สามมีลักษณะเป็นคูหาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของส่วนแรกมีพื้นที่ประมาณ 12 ตารางเมตร โครงการวิจัยวัฒนธรรมโฮบิเนียนในประเทศไทย (The Hoabinhian Research Project in Thailand) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดี ได้สำรวจพบหลักฐานบนพื้นผิวดินและระบุเป็นครั้งแรกว่า ถํ้าหมอเขียวเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ 2534 และได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่ถํ้าแห่งนี้ในปีเดียวกัน คณะผู้ดำเนินการขุดค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ ที่ได้จากการขุดค้น ประกอบด้วยศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ภู่ขจร อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาศิลปากร หัวหน้าอำนวยการขุดค้น วิเคราะห์สภาพแหล่งและผลการขุดค้นตามชั้นดินวัฒนธรรม นายประพิศ ชูศิริ นักโบราณคดีจากกองโบราณคดี กรมศิลปากร วิเคราะห์เรื่องโรคจากโครงกระดูกมนุษย์ นางเยาวลักษณ์ ชัยมณี วิเคราะห์กระดูกสัตว์ นายอำพล ไวศยดำรง วิเคราะห์หอย และนายมนัส วัฒนศักดิ์ วิเคราะห์ละอองเกสรพืช หลักฐานที่พบ นักโบราณคดีได้ทำการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ 2534 ได้แบ่งชั้นดินออกเป็น 6 ชั้น จากชั้นบนลงไปชั้นล่างพบหลักฐานต่างๆ ดังนี้ -เศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบสีเทาเข้มและสีดำมีทั้งผิวเรียบและลายเชือกทาบ -เครื่องมือหินและเครื่องมือกระดูก มักเป็นเครื่องมือหินขัดกระเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหินและมีเครื่องมือกระดูกบ้างบางส่วน -กระดูกสัตว์ ได้แก่ กระดูกสัตว์ใหญ่และเปลือกหอยชนิดต่างๆ ทั้งหอยทะเลและหอยนํ้าจืด -หลักฐานเกี่ยวกับเมล็ดพืช -หลักฐานเกี่ยวกับกองไฟในชั้นวัฒนธรรมต่างๆ มักพบร่วมกับกระดูกสัตว์ เมล็ดพืช ขวานหิน และสะเก็ดหิน -เครื่องประดับ ลูกปัดทำจากเปลือกหอย กระดูกสัตว์และแผ่นหิน -หลุมฝังศพและโครงกระดูก

บ้านหน้าชิง ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง

  8.050000,98.916664

ค้นหา

แนะนำสถานที่ใหม่  

สำรวจขอนแก่น  

สำรวจอุดรธานี  

สำรวจสกลนคร  

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*