พระธาตุกู่จาน
เมื่อพุทธศักราช 7 หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จ ปรินิพพานไปแล้วเป็นเวลา 7 ปี พระมหากัสสปะ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุลงแจกจ่ายในดินแถบนี้ กลุ่มที่ได้มาคือพระยาคำแดงซึ่ง เป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ กลุ่มพระยาพุทธซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทางฝ่ายใต้ไม่ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจึงได้เดินทางไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จากพระยาคำแดง พระยาคำแดงไม่อยากให้ทำเป็นพูดจาบ่ายเบี่ยง โดยท้าแข่งกันก่อสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุว่าใครจะเสร็จก่อน ถ้าใครแพ้ต้องยอมเป็นเมืองขึ้นของกันและกัน แต่มีข้อแม้อยู่ว่าในการก่อสร้างเจดีย์ครั้งนี้ต้องใช้คนอย่างมากไม่เกิน 6 คน เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันแล้ว พระยาพุทธก็เดินทางกลับมาประชุมเจ้าเมืองฝ่ายใต้เพื่อทำการก่อสร้างพระธาตุกู่จาน ได้คัดเลือกเอาแต่คนสนิท มีฝีมือ ได้แก่ พระยาพุทธ พระยาเขียว พระยาธรรม พระยาคำ พระยาแดง และพระยาคำใบ ส่วนนามของ ผู้สร้างพระธาตุพนมทราบเพียงท่านเดียวคือ พระ ยาคำแดงเท่านั้น ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มทำการก่อสร้างโดยไม่ให้ราษฎรเข้ามายุ่งเกี่ยว หากมีผู้ใดขัดขวางตัดคอทันที ฝ่ายพระยาคำแดงหัว เมืองฝ่ายเหนือโกรธแค้นมากและทราบว่าผู้ที่มาแย่งชิงพระสารีริกธาตุเป็นผู้ใดจึงได้ยกกำลังกองทัพลงมายังหัวเมืองฝ่ายใต้เพื่อพิจารณา ขอร่วมสร้างด้วยเพราะรู้ว่าพระยาทั้ง 5 ได้ไปแย่งชิงเอาพระสารีริกธาตุจากตนมาแล้ว แต่พระยาทั้งห้าไม่ยอมจึงเกิดการต่อ สู้กันขึ้นอย่างรุนแรง เนื่องจากฝ่ายพระยาพุทธไม่ได้เตรียมกองกำลังป้องกันไว้จึงเสียเปรียบ ผลปรากฏว่าพระยาทั้งหมดเสียชีวิตคือ พระยาคำแดงถูกพระยาพุทธฟันด้วยทวน คอขาด ส่วนพระยาฝ่ายใต้ก็เสียชีวิตทั้ง หมดเช่นกัน ศพทั้งหมดได้ถูกเผาและนำ มาฝังไว้ห่างจากพระธาตุกู่จานประมาณ 2 – 3 เมตร ทั้ง 4 ทิศ สนามรบครั้งนั้นก็ คือดอนกู่ในปัจจุบันซึ่งมีหินเรียงกันเป็น ชั้นๆ อยู่ทางทิศเหนือของบ้านกู่จาน ห่างจากองค์พระธาตุกู่จานไปไม่มากนัก ส่วนศพของพระยาคำแดงชาวเมืองได้ช่วยกัน เผาแล้วปั้นเป็นเทวรูปคอขาด ซึ่งปัจจุบันนี้ พระพุทธรูปคอขาดได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดสมบูรณ์พัฒนา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็นวัดที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน
พระธาตุกู่จาน ยโสธร
ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านกู่จาน