หนังประโมทัย
ประมาณ พ.ศ. 2470 นายคำหมาย บุญเพ็ง ได้นำศิลปะการแสดงหนังปราโมทัย การผลิตตัวหนังปราโมทัย มาจากจังหวัดศรีสะเกษ โดยมาอยู่ที่บ้านโนนแคน หมู่ที่ 7 ตำบล สร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี สมัยนั้น ปัจจุบันคือ จังหวัดอำนาจเจริญ ตัวหนังปราโมทัยในระยะนี้ ตัวหนังปราโมทัยทำจากหนังวัวแท้ ตากแห้ง ขูดให้บาง จึงตัด แกะลายให้สวยงาม ตามรูปแบบของกรมศิลปากร แต่ลายไม่ค่อยละเอียดมากนัก แต่ก็มีความสวยงามในระดับหนึ่ง เพราะในสมัยนั้น ยังไม่มีภาพยนตร์มาฉายให้ดู จะมีเพียงแต่หมอลำคู่ ชายหญิง มีเฉพาะหนังปราโมทัยเท่านั้น ที่มีตัวละครเป็นตัวหนัง ฉะนั้นตัวหนังปราโมทัย จึงเป็นงานที่สนุกสนานแก่ผู้ชมเสมอมา ผู้ชมทั่วไป สามารถบอกได้ว่าตัวละครตัวต่างๆ นั้นมีชื่ออย่างไรบ้าง เช่น ทศกัณฑ์ พระลักษณ์ พระราม ดังนั้นตัวหนังปราโมทัย จึงมีอิทธิพลในความ ยึดมั่นเชื่อถือของบุคคลทั่วไป ถ้าหากทำรูปหุ่นผิดแปลกไปจากที่เคยเห็น ก็จะโต้แย้งว่าไม่ใช่ ตัวทศกัณฑ์อย่างแน่นอน ฉะนั้นการทำตัวหนังปราโมทัย จึงต้องยึดรูปแบบ รูปร่างเดิม ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก นายทอง ขันติโคตร ได้นำเอารูปแบบตัวหนังปราโมทัย จากนายคำหมาย บุญเพ็ง นำศิลปวัฒนธรรมรูปแบบตัวหนังมาจากจังหวัดศรีสะเกษ มาผสมผสานกับกรมศิลปากรที่ได้ออกแบบไว้ และได้ยึดตัวแบบดังกล่าวมากระทั่งถึงปัจจุบัน นายธงชัย งอกงาม อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนบ้านดงบังพัฒนา ได้พาทีมงานชาวบ้านดงบัง ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ฟื้นฟูการแสดงหนังปราโมทัยขึ้น โดยใช้ชื่อคณะว่า “40 ดีกรี” ปรากฏว่ามีผู้ว่าจ้างไปแสดงในงานพอสมควร เพราะไม่ได้ดูมานานในระยะนั้น คงมีเทศบาลเมืองอุบลราชธานี อนุรักษ์หนังปราโมทัย โดยให้คณะ ฟ. บันเทิง แสดงในงานปีใหม่ ณ ทุ่งศรีเมืองทุกปี คณะ 40 ดีกรี ได้รับการถ่ายทอดวิชาศิลปะการแสดงจากอาจารย์ผาด บ้านโต่งโต้น อำเภอหัวตะพาน ซึ่งท่านเป็นผู้หนึ่งที่สังกัดทีมงานปราโมทัย คณะอาจารย์คำหมาย บ้านโนนแคน และอาจารย์ธงชัย งอกงาม ได้นำเอาประสบการณ์ที่ได้ชมจากคณะ ฟ.บันเทิง ที่จังหวัดอุบลราชธานีมาประยุกต์ใช้แสดงด้วย
บ้านน้ำปีก