หมวดหมู่ : อาหารอีสาน

ก้อยกุ้ง สูตรอาหารอีสาน ฉบับต้นตำรับ

พ้อกันทางอีสานร้อยแปดคือเก่าเหมือนเดิมน้อครับพี่น้อง มื้อนี้ข่อยสิพาไป “ก้อยกุ้ง” มาเบิ่งกันว่าวิธีทำก้อยกุ้งนั้นเขาทำแบบไหน ก้อยกุ้งคืออะไร แล้วต้นตำรับก้อยกุ้งแบบอีสานบ้านเฮานั้นเป็นแบบไหน มาเบิ่งกันครับ

กุ้งฝอย

ก้อยกุ้งในแบบฉบับต้นตำรับของอีสานบ้านเฮานั่นครับพี่น้อง ต้องมีส่วนประกอบหลักคือ กุ้งฝอยตัวเป็นๆ หรือที่เราเรียกว่า “กุ้งเต้น” นั่นแหละครับ กว่าจะได้มาซึ่งกุ้งเต้นก็ต้องไปหาส่อน หรือ ช้อนเอาตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องหาแหล่งน้ำที่สะอาด กุ้งจะได้ตัวใหญ่ ตัวสะอาด น่ารัปประทาน

กุ้งเต้น

ส่วนประกอบในการทำก้อยกุ้ง :
1.กุ้งฝอยสด ๆ เป็น ๆ
2. หอมแดง ซอยบาง ๆ
3. พริกขี้หนูสดหั่นเป็นแว่นบาง
4. พริกป่น
5. ตะไคร้ซอย (ตัดที่แข็งออก)
6. ข้าวคั่ว (คั่วใหม่ ๆ ) โขกละเอียด
7. น้ำปลา
8. ใบสะระแหน่(บางท้องถิ่น เรียกใบหูแมว ใบหอมมน) กลิ่นฉุน เด็ดเป็นใบ ๆ ไม่หั่น จะช้ำ
9. ต้นหอม
10. ใบผักชีฝรั่ง
11. ผักชีจีน
12. ใบมะกรูดหั่นฝอย
13. มะนาว, มะกอก(มะกอกที่ใส่ส้มตำ)
14. ผักแพว ภาษาถิ่นภายัพเรียกผักไผ่

ส่วนประกอบก้อยกุ้ง

วิธีทำก้อยกุ้ง :
1. ล้างกุ้งให้สะอาด เด็ดหนวด กรี(โครงแข็งแหลมที่หัวกุ้ง)ออก ไม่เอาออกก็ได้เพราะกุ้งฝอย ไม่เหมือนกุ้งก้ามกราม
2. ใส่น้ำปลา น้ำมะนาว มะกรอก ลงในกุ้ง กุ้งจะเต้น(เขาจึงเรียกกุ้งเต้น ต้องใช้ภาชนะปรุงที่มีฝาปิด (มะกรอกจะทำให้สีอาหารดำ) ถ้าไม่ชอบใส่เฉพาะมะนาว ชิมรส ให้เป็นรสจัด (อย่างบทพระราชนิพนธ์ “วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย” คือสะดุ้ง เพราะรสจัดเผ็ด) ไม่ใช่กุ้งเต้นในปากนะ


3. ใส่ข้าวคั่ว พริกป่น
4. ตามด้วยต้นหอม ผักชี ผักแพว ผักชีฝรั่ง สระแหน่ ตะไคร้ ใบมะกรูด คนให้เข้ากัน กลิ่นหอม ไปด้วยเครื่องปรุงสมุนไพร ทั้งนั้น

สอนทำก้อยกุ้ง

วิธีทำก้อยกุ้ง

ง่ายๆเพียงเท่านี้หละครับพี่น้อง เฮากะสิได้กินก้อยกุ้งสูตรต้นตำรับอีสานของแท้แน่นอน ขอโตไปคุ้ยก้อยกุ้งก่อนเด้อ ใส่กับข้าวเหนียวคำใหญ่ๆ แซบหลายพี่น้องงงงง

สูตรทำก้อยกุ้ง
สอนทำก้อยกุ้ง
ส่วนประกอบก้อยกุ้ง
กุ้งเต้น
กุ้งฝอย
วิธีทำก้อยกุ้ง
แชร์
ไทสกล คนสว่าง

แอดมินอีสานร้อยแปด ไทสกล คนสว่าง ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บอีสานร้อยแปด นำเสนอข้อมูลรอบด้าน ทุกเรื่องราวของพี่น้องชาวอีสาน เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิดแต่เกิดอยู่สกลนคร ออนซอนประเพณีวัฒนธรรมที่ราบสูงที่เรียกว่าภาคอีสาน จึงได้รวบรวมข้อมูลเรื่องราวเหล่านั้นรังสรรค์ผลงานนำเสนอผ่านเว็บไซต์ "อีสานร้อยแปดดอทคอม"

ดูความคิดเห็น