เมื่อพูดถึงอาหารอีสาน หลายคนคงชอบรับประทานอาหารอีสานเป็นอย่างมาก เพราะเสน่ห์ของอาหารอีสานก็คือความแซบและความมีรสจัดของอาหารอีสาน ทำให้ผู้คนติดใจรสชาติของอาหารอีสานมากยิ่งขึ้น โดยปกติธรรมชาติของคนไทยกับอาหารไทยนั้นจะมีรสชาติที่จัดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมนูอาหารไทยหลายอย่างก็มีรสจัดเป็นเอกลักษณ์
วันนี้เราจะมาดูกันว่าอาหารอีสานเมนูไหนที่ถูกใจนักท่องเที่ยวมากที่สุด วันนี้เรามานำเสนอให้คนที่ชอบทานอาหารอีสานได้ตัดสินใจกัน เมนูวันนี้ก็คือ “ซุบหน่อไม้” บางท่านเคยได้ยิน บางท่านเคยรับประทานมาแล้ว หรือบางท่านนั้นก็เพิ่งเคยได้ยินมาไม่ทราบว่าหน้าตาของซุบหน่อไม้นั้นมันเป็นอย่างไร ขึ้นชื่อว่าซุบ อาจจะเป็นอาหารที่เหลวๆคล้ายกับแกงจืด แต่ขอบอกเลยว่า งานนี้แซบเด็ดเผ็ดดุแน่นอนกับเมนูซุบหน่อไม้ของภาคอีสานที่นำเอาหน่อไม้มายำรวมกับเครื่องเทศต่างๆให้มีความหอม และเพิ่มรสชาติด้วยมะนาว น้ำปลา ตามใจชอบ คล้ายๆกับการลาบ แต่วัตถุดิบที่ใช้นั้นไม่ใช่เนื้อสัตว์นั่นเอง วัตถุดิบในการทำเมนูซุบหน่อไม้ ถ้าใครอยากไปทำรับประทานที่บ้านได้ก็ให้เตรียมวัตถุดิบได้ดังนี้ หน่อไม้รวก ซึ่งหน่อไม้รวกนั้นจะให้ความหวานกับหน่อไม้ได้อย่างดีที่สุด แถมไม่แข็งกระด้างมากจนเกินไป หอมแดงซอย น้ำปลาร้านิดหน่อย เกลือป่น น้ำมะนาว น้ำปลา พริกป่น ข้าวคั่ว และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือใบย่านาง เพราะเราจะใช้น้ำย่านางในการปรุงรสซุบหน่อไม้ให้กลมกล่อมเป็นธรรมชาติ
ซุบหน่อไม้ส่วนใหญ่นั้นจะเน้นเรื่องความกลมกล่อมเป็นหลัก ความแซบยังคงที่เสมอ เมนูซุบหน่อไม้จะเป็นเมนูที่ค่อนข้างขายดีมากที่สุดแล้ว ไม่ว่านักท่องเที่ยวจะเข้าร้านอาหารอีสานเมื่อใดก็ตาม ก็ต้องรีบสั่งเจ้าซุบหน่อไม้เมนูนี้ก่อนที่จะหมดเสียก่อน ซุบหน่อไม้เป็นเมนูอาหารสุขภาพ แคลอรีต่ำ กินแล้วไม่อ้วน แถมส่วนผสมต่างๆในเมนูอาหารนั้นก็มีแต่สมุนไพรเพื่อสุขภาพทั้งหมด อาหารรสแซบ ราคาไม่แพง หาทานได้ง่าย ไม่อยากให้ทุกท่านมองข้ามเมนูอาหารธรรมดาๆเมนูนี้ได้เลย
ซุบ-ซุป คำที่ออกเสียงว่า [ซุบ] มี ๒ คำ คือ ซุบ เขียน ซ โซ่ สระอุ บ ใบไม้ และ ซุป เขียน ซ โซ่ สระอุ ป ปลา แม้จะออกเสียงอย่างเดียวกัน แต่ความหมายไม่เหมือนกัน คำว่า ซุบ สะกดด้วย บ ใบไม้ เป็นคำไทยถิ่นอีสาน หมายถึง อาหารประเภทผักต้มตำคลุกกับเครื่องปรุงมีพริกเผา หอมเผา เป็นต้น เช่น ซุบมะเขือ ซุบหน่อไม้ ซุบขนุนอ่อน
ส่วนคำว่า ซุป สะกดด้วย ป ปลา มาจากคำภาษาอังกฤษว่า soup (อ่านว่า ซุป) เขียน s-o-u-p แปลว่า น้ำแกง หรือน้ำที่ได้จากการต้มเคี่ยวเนื้อสัตว์ กระดูกสัตว์ หรือผัก เช่น ซุปไก่ ซุปข้าวโพด ซุปเห็ด ซุปมะเขือเทศ
ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.