ตั๊กแตนข้าว (ตั๊กแตนเข๋า )

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyrthacantacris tatarica
ชื่อ สามัญ           กำลังสืบค้น
วงศ์                 Orthoptera
ชื่อพื้นบ้าน        ตั๊กแตนข้าว ,ตั๊กแตนข้าวเจ้า ,ตั๊กแตนหวาย ( ราชาไร้อาณาจักร )

วงศ์เดียวกันกับ ตั๊กแตนปาทังก้า ที่ทอดขายตามท้องตลาด แต่ไม่ใช่ตั๊กแตนปาทังก้าครับ
ตั๊กแตนข้าวเป็นคนละสายพันธุ์กัน เด็กน้อยเยาวชน ผู้ไม่ได้เพ่งพิจ ท้องทุ่ง
อาจจำแนกไม่ออก ว่าตั๊กแตนอะไร
เห็นทุกตัวเป็นตั๊กแตนเหมือนกันหมด จริงๆแล้ว ตั๊กแตนในประเทศไทย
มีนับพันสายพันธุ์ ครับ

รูปร่างลักษณะ

– มีขนาดใหญ่ รูปร่างหนา กระโดดได้ไกล แต่ไม่ว่องไวเหมือน ตั๊กแตนทั่วไป
– ตัวผู้มีความยาววัดจากหัวถึงปลายปีก 6-6.5 เซนติเมตร
– ตัวเมียยาว 8.5-10 เซนติเมตร
– ทั้งตัวผู้ และตัวเมีย ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนสลับกับจุดสีน้ำตาลแก่
– แก้มทั้ง 2 ข้างมีแถบสีดำพาดจากขอบตารวมด้านล่างถึงปาก
– ปีกยาวเลยปลายส่วนท้องไปประมาณ 1/5 เท่าของตัว
– ปีกคู่แรกแข็งมีแถบสีขาว ส่วนปีคู่ในมีสีเหลืองอ่อน – ปีกคู่ที่ 2 เป็นเยื่อบางใส
– โคนปีกมีสีขาวหรือสีชมพู

วงจรชีวิต

– ในรอบ 1 ปี มีการขยายพันธุ์เพียง 1 ครั้ง
– ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
– อัตราส่วนตัวผู้ : ตัวเมีย 2:1
– ตัวเมียวางไข่ในดิน ระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม (เป็นระยะฝนแรกของปี)
– วางไข่เป็นฝักลึกลงไปในดิน ที่มีลักษณะร่วนซุย ลึก 2-4 เซนติเมตร และมีความชื้นพอเหมาะ ตามสุมทุมพุ่มไม้
– ฝักไข่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว 2-5 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มม. ห่อหุ้มด้วยฟองน้ำสีขาว
– ตัวเมียวางไข่ได้ 1-3 ฝัก
– ไข่ 1 ฝัก มีจำนวน 96-152 ฟอง เพราะฉะนั้น ไข่ 1-3 ฝักมีจำนวนรวม 288-451 ฟอง
– อายุไข่ 35-51 วัน (เมษายน-พฤษภาคม)
– ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
– ตัวอ่อนลอกคราบ 5  ครั้ง
– ช่วงอายุตัวอ่อน 56-81 วัน มี 9 วัย
– เริ่มเป็นตัวแก่ประมาณเดือนกรกฎาคม
– อายุตัวเต็มวัย 8-9 เดือน (สิงหาคม-เมษายน)
– ตั๊กแตนเมื่อวางไข่แล้วก็จะตายในที่สุด

ลักษณะการดำรงชีวิต

ตั๊กแตนข้าว เป็นตั๊กแตนขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มวัย มีขนาดยาว 10 ซม. ขึ้นไป
ลำตัวมีสีซีดจาง ต่างจากสายพันธุ์อื่น ซึ่งมีเด่นชัด  การเคลื่อนไหวค่อนข้างช้า
แต่จุดเด่นคือสามารถบินได้ไกล  โดยลักษณะนิสัย ไม่ชอบที่โล่ง , ลานหญ้า
เหมือนตั๊กแตนปกติ  จึงไม่ค่อยพบตั๊กแตนชนิดนี้ ตามทุ่งหรือที่โล่งมากนัก
มักอาศัยตาม ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ไปจนถึงป่าทึบ กินยอดไม้ ใบไม้หลายขนิดเป็นอาหาร
รวมทั้งพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่ว ต่างๆ รวมทั้งพันธุ์ไม้ตามท้องถิ่น

ที่มีนิสัยไม่ชอบที่โล่ง เพราะเป็นตั๊กแตนขนาดใหญ่ สังเกตเห็นได้ง่ายเมื่ออยู่ที่โล่ง
จึงเป็นอันตรายต่อตัวมันเอง  ชอบที่จะอยู่ตามต้นไม้ หรือ พุ่มไม้เสียมากกว่า
ถึงแม้ตั๊กแตนชนิดนี้ จะถือว่าเป็นศัตรูพืช แต่การขยายพันธุ์ของมัน
กลับมาสำเร็จผลในการเพิ่มจำนวนเหมือนตั๊กแตนชนิดทั่วไป เนื่องจากถิ่นอาศัย
ต้องอาศัยแอบอิง หมู่ไม้ยืนต้น ป่าละเมาะ หรือป่าเต็งรัง ในการดำรงชีวิต
เมื่อพื้นที่ป่าถูก บุกรกทำลาย เกินความสมดุล จึงค่อยๆ ลดจำนวนลง

ตั๊กแตน

ตั๊กแตน

ลักษณะเฉพาะ

เป็นตั๊กแตนขนาดใหญ่ ที่ไม่ชอบที่โล่ง หรือลานหญ้า  กินพืชไร่ แต่ไม่กินต้นข้าว
หรือทำลายข้าวกล้าในนา  นกแจนแวน และนกแทด ชอบกินแมลงชนิดนี้มาก
เด็กน้อยผู้หิวโหย กะมักคือกัน เพราะจี่แซบ

การเกี่ยวพันทางวิถีชีวิตอีสาน

ช่วงลงนาใหม่ ตกหล้า ฝนรินรดผืนดินอีสานให้แช่มชื้น  ตั๊กแตนข้าว มักจะจับคู่กัน
ผสมพันธุ์ ตามใบไม้ ป่าโปร่ง ป่าละเมาะทั่วไป  ยามไปเลี้ยงควาย  จะพบเห็น
แมลงอันนี้ ก็ รีบ คุบเอาโลด  เอามาจี่ บ่ายคำข้าว ได้มา 2 ตัว ก็ จี่ใส่ไฟ กินกับ
ปั้นข้าวเหนียว
แค่นั้นก็อิ่มท้องได้ คาบหนึ่ง  หากได้ตั๊กแตนแม่ไข่  แฮ่งตะคักหลาย  แซบอีหลี


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*