เห็ดตาปู้
สมัยเป็นเด็กน้อยย่างลงไปท่งนาบ่อึดแต่ของกิน ยิ่งช่วงยามฝนใหม่จะมีของกินเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหลากหลายชนิดมากๆ มื้อนี้ทีมงานอีสานร้อยแปดจะพาไปรู้จักกับ “เห็ดตาปู้” ที่เกิดขึ้นเองในแปลงนา มีทั้งชนิดที่กินได้และกินไม่ได้ต้องสังเกตุให้ดี ตอนเด็กๆแอดมินเองเคยเก็บมาแกงกินอยู่เหมือนกัน รสชาติก็คล้ายๆเห็ดฟางแต่จะนุ่มกว่า หอมน้อยกว่าเห็ดฟาง ช่วงฤดูที่เห็ดตาปู้ออกจะออกพร้อมๆกันเยอะมาก ไม่ค่อยนิยมนำมาประกอบอาหารสักเท่าไหร่ เพราะสายพันธุ์ที่กินได้กับที่มีพิษมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายคนส่วนใหญ่ก็เลยไม่เก็บมากิน แต่สำหรับคนเฒ่าคนแก่ที่เชี่ยวชาญเรื่องเห็ดจะให้คำแนะนำได้ว่าดอกไหนกินได้หรือกินไม่ได้
ลองมาดูกันว่าเห็ดอะไรที่กินได้และกินไม่ได้บ้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดตาปู้ : Calvatia boninensis S. Ito & Imai.
ลักษณะทั่วไปของเห็ดตาปู้ : ดอกอ่อนมีลักษณะคล้ายจาวมะพร้าว เป็นก้อนกลม ซึ่งขยายโตขึ้นเรื่อยๆ ขนาด 5–12 เซนติเมตร สูง 4–10 เซนติเมตร สีขาว ตรงโคนเป็นเหมือนก้านดอก ผิวด้านบนของดอกเห็ดอ่อนเรียบ เมื่อโตขึ้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นผิวนูนขรุขระ และสีจะเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลอมชมพูจนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เนื้อด้านในเป็นที่เกิดของสปอร์ เมื่อแก่สปอร์แตกออกทางด้านบน
ลักษณะสปอร์ : รูปร่างกลม มีหนาม ขนาด 2.5-4.5 ไมโครเมตร
เห็ดตาปู้พบได้ทั่วๆไปบนพื้นดินแถวป่าเต็งรัง
ตัวอย่างเห็ดตาปู้ที่สำรวจพบตามที่ต่างๆ
ก่อนจากกันมาฟังเพลง “เห็ดตาปู้” เพลงสนุกๆจากค่ายเฮ็ดอยู่เฮือนเร็คคอร์ดของเรา