ตากข้าวเปลือก

การ ตากข้าวเปลือก ไม่ต้องไปตากบนถนน เพราะเสี่ยวอันตรายแล้วยังผิดกฏหมาย ถ้าผู้นำชุมชนร่วมมือร่วมใจกับชาวบ้าน จัดสรรให้ชาวบ้านมีพื้นที่ตากข้าว

เป็นข่าวเป็นคราวกันทุกปีกับการเกิดอุบัติเหตบนท้องถนนตามชนบท ชาวนาตากข้าวบนท้องถนน หรือ การ ตากข้าวเปลือก นอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุ แล้วยังผิดกฏหมายอีกเด้อ แต่วันนี้ทีมงานอีสานร้อยแปดขอนำเสนอเรื่องราวดีๆ ที่บ้านของแอดมินเอง เพราะว่าชาวนาไม่ต้องไปตากข้าวบนท้องถนน บ้านเฮามีลานอเนกประสงค์ของหมู่บ้าน ที่เป็นลักษณะลานกว้าง เพียงพอต่อการตากข้าวของชาวบ้านในหมู่บ้าน

ชาวบ้านกำลังตากข้าว

ลานอเนกประสงค์แห่งนี้เกิดขึ้นเพราะความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านจัดทำขึ้นเมื่อหลายปีก่อน และได้บารมีของหลวงปู่บุญมา เป็นผู้สนับสนับให้สร้างขึ้น นับเป็นบุญของชาวบ้านที่นี่จริงๆ

เมื่อก่อนพื้นที่ตรงนี้เป็นหนองน้ำสารธารณะของหมู่บ้าน ที่ไม่ได้สร้างสารธารณะประโยชน์แล้ว หลวงปู่จึงให้นำดินมาถมเพื่อปรับปรุงเป็นพื้นที่ใช้สอยอย่างอื่น เทปูนซีเมนต์ทำเป็นลานอเนกประสงค์ ลานกีฬาในหมู่บ้าน และที่สำคัญในหน้าผลผลิตทางการเกษตรแบบนี้ชาวบ้านก็ได้นำข้าวเปลือกมาตาก โดยผลัดคิวกันตาก

ตากข้าว

ทำไมถึงต้อง ตากข้าวเปลือก ?

สาเหตุที่ชาวนาต้องตากข้าวมาจากหลายสาเหตุ สาเหตุหลักๆคือ เนื่องมาจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแบบใหม่คือใช้รถเกี่ยว ไม่ได้ใช้มือเกี่ยวแบบเก่าแล้ว ทำให้ข้าวที่ได้คือข้าวสด จะต้องนำมาตากก่อนถึงจะเก็บเข้ายุ้งฉาง(เล้า)ได้ ถ้าข้าวไม่แห้งจะเก็บไว้ไม่ได้ หรือถ้าเอาไปจำหน่าย ราคาก็จะไม่ดี เท่าที่ไปสอบถามมาราคาข้าวสดกับข้าวแห้งนั้นต่างกันมาก โรงสีกดราคาข้าวสด กก.ละ 11 บาท ถ้าเป็นข้าวแห้งจะได้ราคา 15 – 16 บาท เป็นต้น เพราะฉะนั้นการตากข้าวจึงจำเป็นมากสำหรับชาวนา

การตากข้าวนั้นจะให้แห้งดี ถ้าแดดแรงๆก็ต้องตาก 3 – 4 แดดจึงจะแห้งดี ระหว่างที่ตากก็จะต้องมีการกลับข้าวเรื่อยๆ โดยใช้ไม้กลับข้าวลากให้ข้าวที่อยู่ด้านล่างโดนแดด วันนึงกลับประมาณสองสามรอบ

กลับข้าวเปลือก หรือพลิกข้าวเปลือก วิธีการ ตากข้าวเปลือก

ไม่ว่าจะเป็นข้าวชนิดไหน ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว หรือ แม้กระทั่งข้าวไรท์เบอร์รี่ ที่ชาวบ้านที่นี่ปลูก ถ้าหากใช้รถเกี่ยวแล้วละก็ ก็ต้องนำมาตากที่ลานอเนกประสงค์ของหมู่ที่นี่ทั้งนั้น

ข้าวไรท์เบอร์รี่

กลับมาพูดถึงปัญหาการตากข้าวของชาวนา ที่เป็นข่าวเป็นคราวว่าดื้อไปตากข้าวบนท้องถนน อยากบอกให้เข้าใจตรงกันว่ามันผิดกฏหมายเด้อ อย่าไปทำ วิธีแก้ปัญหาคือ หน่วยงานราชการในชุมชนเองต้องเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหา เช่น ลานใช้สอยของ อบต. หรือ เทศบาล , โรงเรียน , วัด , ลานอเนกประสงค์ของหมู่บ้าน เป็นต้น เหล่านี้ ผู้นำชุมชนคุยกับชาวบ้าน ลูกบ้าน ให้เอาข้าวไปตากได้ เพียงเท่านี้แอดมินคิดว่ามันก็น่าจะแก้ปัญหาได้เยอะเลย ถ้าหากเราร่วมมือร่วมใจกัน

มา ตากข้าวเปลือก กันค่ะ

ลาน ตากข้าวเปลือก

แชร์
ไทสกล คนสว่าง

แอดมินอีสานร้อยแปด ไทสกล คนสว่าง ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บอีสานร้อยแปด นำเสนอข้อมูลรอบด้าน ทุกเรื่องราวของพี่น้องชาวอีสาน เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิดแต่เกิดอยู่สกลนคร ออนซอนประเพณีวัฒนธรรมที่ราบสูงที่เรียกว่าภาคอีสาน จึงได้รวบรวมข้อมูลเรื่องราวเหล่านั้นรังสรรค์ผลงานนำเสนอผ่านเว็บไซต์ "อีสานร้อยแปดดอทคอม"