พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี จ.หนองบัวลำภู

พิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ

มาเด้อพี่น้องเที่ยวกันต่อที่หนองบัวลำภู สำหรับมื้อนี้สิพาไปเที่ยวกันต่อที่ พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี ตั้งอยู่ในบริเวณเนินเขา ที่ขุดค้นพบหอย บางส่วนนำไปจัดแสดงไว้ในอาคารพิพิธภัณฑ์ซึ่งมีการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวนอกจากนี้ยังพบซากหอยดึกดำบรรพ์ยุคจูราสสิค มีอายุราว 140–150 ล้านปี ลักษณะเป็นรูปหอยอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์จำนวนมาก ภายในบริเวณใกล้เคียงยังพบซากกระดูกจระเข้โบราณ เศษหินจาไมก้าและแร่ธาตุบางชนิดอีกด้วย การเดินทางนักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางสายหนองบัวลำภู-อุดรธานี ซึ่งจะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวลำภู-อุดรธานี) ประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านห้วยเดื่อ ต.โนนทัน อยู่ทางด้านซ้ายมือ และเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร จะถึงบริเวณที่พบซากหอยโบราณ

ประวัติความเป็นมา ซากหอยหิน 150 ล้านปี

ประวัติความเป็นมา ซากหอยหิน 150 ล้านปี

ประวัติความเป็นมา : ซากหอยหิน 150 ล้านปี ค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 โดยชาวบ้านที่เข้าหาเก็บของป่าในบริเวณเหมืองร้างห่างจากหมู่บ้านประมาณ1.5 กิโลเมตร ค้นพบหินที่มีลักษณะคล้ายหอยสวยงาม แปลกตาเป็นจำนวนมาก จึงเก็บมาวางขายตามริมถนน ระยะแรกขายกิโลกรัมละ 2 บาท มีผู้สนใจซื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ขายได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 12 บาท และเพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 20 บาท นายประภา ยุวานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภูขณะนั้นทราบข่าวจึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่จากกรมทรัพยากรธรณี ให้มาตรวจสอบและนำหินที่ชาวบ้านมาวางขายไปพิสูจน์ ได้ข้อสรุปว่าหินที่พบเป็นซากฟอสซิลหอยดึกดำบรรพ์กาบคู่ เป็นหอยน้ำจืด ยุคจูราสสิคตอนปลายอายุระหว่าง 145 – 157 ล้านปี และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2537 นายประภา ยุวานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ได้เดินทางมาดูแหล่งที่ค้นพบซากดึกดำบรรพ์

หอยหินสองฝาที่บ้านห้วยเดื่อ

หอยหินสองฝาที่บ้านห้วยเดื่อ

หอยหินสองฝาที่บ้านห้วยเดื่อ โดยมี นายประเทือง ปัญโญวัฒน์ ผู้ช่วยอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานีเป็นผู้แนะนำ
ชาวบ้านได้เข้าไปขุดซากหอยดึกดำบรรพ์กันมากขึ้น ในช่วงแรกๆ สามารถขุดเก็บ ซากดึกดำบรรพ์จากบริเวณหินที่ผุสลายกลายเป็นดินได้โดยง่าย ซากหอยดึกดำบรรพ์ ยังมีความคงทนต่อการผุสลายได้มากกว่า ยังมีสภาพเป็นตัวๆ ฝังอยู่ในดิน ในบางบริเวณ ที่มีธารน้ำไหลชะล้างเอาดินออกไปก็จะเห็นซากหอยดึกดำบรรพ์โผล่กระจัดกระจายอยู่ ให้ชาวบ้านไปขุดเก็บได้โดยง่าย และซากหอยจะมีลักษณะที่สมบูรณ์ราคาดี ราคาซากหอยดึกดำบรรพ์ที่ขายกันแตกต่างกันไปตามความสวยงามและความสมบูรณ์ บางตัวราคาอาจสูงถึงตัวละ 1,500 บาท ซึ่งนับวันซากหอยดึกดำบรรพ์หายากมากขึ้น และยังมีผู้ต้องการอยู่ ชาวบ้านต้องขุดและสกัดเอา ซากหอยดึกดำบรรพ์ออกมาขายเรื่อยๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้รายงานข่าวและเขียนบทความเกี่ยวกับการขุดหาซากหอยดึกดำบรรพ์ที่บ้านห้วยเดื่อ ทำให้เป็นที่สนใจเดินทางมาที่แหล่งค้นพบซากหอย

หอย ดึกดำบรรพ์

หอย ดึกดำบรรพ์

ที่บ้านห้วยเดื่อมากขึ้น เมื่อมีผู้คนมามากขึ้น ได้ขุดเจาะพื้นดินและไหล่เขาเหนือหน้าผาเป็น บริเวณกว้าง นิคมสร้างตนเองเชียงพิณซึ่งเป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์พื้นที่บริเวณนั้น และอำเภอเมืองหนองบัวลำภูต่างเกรงว่าเป็นการทำลายธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม มากขึ้น และอาจเป็นอันตรายต่อผู้ขุดหาซากหอยดึกดำบรรพ์ จึงสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดเข้าไปขุดหาซากหอยดึกดำบรรพ์ แต่ยังมีผู้ลักลอบเข้าไปขุดอยู่ จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน 2537 ได้เกิดเหตุหินถล่มลงมาทับผู้ที่ลักลอบขุดค้นหาซากหอยดึกดำบรรพ์ มีคนตาย 1 คนและได้รับบาดเจ็บ 3 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภูในขณะนั้นจึงสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดเข้าไปขุดหา ซากหอยดึกดำบรรพ์ โดยเด็ดขาดจังหวัดหนองบัวลำภูได้พัฒนาบริเวณที่ค้นพบซากหอยดึกดำบรรพ์เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับงบประมาณก่อสร้างพิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ 150 ล้านปี ในปี 2538 ต่อมาได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่เสร็จในปี 2545

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 จังหวัดหนองบัวลำภูได้ให้คณะกรรมการดำเนินงาน ด้าน

พิพิธภัณฑ์หอยหิน

พิพิธภัณฑ์หอยหิน

มีเจ้าหน้าที่ของพื้นที่ได้รับมอบหมายให้สำรวจพื้นที่ เพื่อจัดทำ โครงการปรับปรุงและพัฒนา โดยนาย อดุลย์ เหล็กกล้า เป็นหัวหน้าส่วนโยธา พาคณะเดินทางสำรวจเส้นทางได้ค้นพบเศษกระดูก ซากฟอสซิลคาดว่าเป็นซากฟอสซิลได้โนเสาร์ ที่กระจัดกระจายตามแนวถนน หลังจากนั้นได้เดินทางสำรวจบริเวณพิพิธภัณฑ์หอยหิน มีนายรุ่งเรือง ธนปราชญ์เปรื่อง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และนายอดุลย์ เหล็กกล้า หัวหน้าส่วนโยธา ได้มาสำรวจเส้นทางที่จะปรับปรุงและมาพบซากฟอสซิลจำนวนหนึ่ง และมีความสมบูรณ์มาก หลังจากนั้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 หน่วยขุดค้นซากฟอสซิลจากภูเวียง จังหวัดขอนแก่นนำโดยนายสมชัย เตรียมวิชานนท์ และคณะ เดินทางมาถึงบริเวณ พิพิธภัณฑ์หอยหิน มีเจ้าหน้าที่จากจังหวัด ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
หัวหน้าส่วนโยธา และเจ้าหน้าที่ ได้เข้าไปขุดค้นบริเวณทางทิศเหนือของพิพิธภัณฑ์หอยหินประมาณ 100 เมตร ได้ค้นพบซากฟอสซิลคล้ายกระดูกสัตว์จำนวนมาก มีทั้งส่วนที่ละเอียด ส่วนขนาดใหญ่ และการขุดค้นจะมีแรงงาน การใช้เครื่องจักร เครื่องมือเข้ามาดำเนินการเป็นระยะๆ เริ่มพบ เศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่และพบฟันไดโนเสาร์ การขุดค้นดำเนินไปจนถึงปลายปี 2544 การขุดค้น ยังไม่เสร็จเรียบร้อย และคณะขุดค้นได้นำชิ้นส่วนไปทำความสะอาด
ที่ภูเวียงจำนวนหนึ่ง จากการขุดค้นพบซากฟอสซิลบริเวนด้านเหนือของอาคารพิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ จังหวัดหนองบัวลำภูได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นมรดกล้ำค่าทางธรรมชาติ ที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทั้งการศึกษาซากฟอสซิลหอยหิน ซากฟอสซิลไดโนเสาร์ กระดูกสัตว์โบราณอื่นๆ รวมทั้งพืชพันธุ์ไม้มากกว่า 30 ชนิด ที่สมควร ที่จะดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว จังหวัดได้ให้งบประมาณผ่าน องค์การบริหารส่วนตำบลโนนทัน สร้างอาคารแสดงซากฟอสซิลไดโนเสาร์ เสร็จในปี พ.ศ. 2545

อาคาร สถานที่ หอยหิน

อาคาร สถานที่ หอยหิน

:ลักษณะของตัวอาคารพิพิธภัณฑ์มีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพื้นที่ ประมาณ 60 ตารางเมตร เป็นลักษณะอาคารปูนชั้นเดียวหลังคาสูงเป็นห้องโถงใหญ่ และมีการจัดแสดงภายใน

การจัดแสดงภายใน : การจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ 150 ล้านปี มีรายละเอียดดังนี้
1. นิทรรศการเรื่องราวของซากฟอสซิลหอยหินโบราณ 150 ล้านปี ที่อยู่ในยุคจูราสสิค ตอนปลาย อายุประมาณ 145-157 ล้านปี
2. จัดแสดงหอยหินสองกาบที่ค้นพบบริเวณบ้านห้อยเดื่อ ที่ประกอบด้วยหอยหินสองกาบที่มีขนาดแตกต่างๆ กัน
3. จัดแสดงนิทรรศการความรู้เรื่องจังหวัดหนองบัวลำภู แสดงข้อมูล รูปภาพสถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญต่าง ๆ แบ่ง แยกตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดหนองบัวลำภู 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู อำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอสุวรรณคูหา อำเภอโนนสัง และกิ่งอำเภอนาวัง
4. แสดงหุ่นจำลองสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดหนองบัวลำภูที่แวดล้อมไปด้วยภูเขา แสดงเส้นทางการคมนาคมของจังหวัด
5. แสดงผลิตภัณฑ์และตัวอย่างสินค้าพื้นเมืองหนองบัวลำภู
6. เครื่องสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (ชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้)

การจัดแสดงภายในอาคารจัดแสดงซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ดังรายละเอียดดังนี้
1. จัดนิทรรศการเรื่องราวของไดโนเสาร์ เรื่องราวของไดโนเสาร์ที่มาการค้นพบ ซากฟอสซิลในเขตภาคอีสาน
2. จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวของไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆ การจัดแสดงเป็นป้ายนิทรรศการที่สวยงามพิมพ์ 4 สี เหมาะสำหรับ
การศึกษาของเด็ก
3. จัดแสดงกระดูกและรอยเท้าของไดโนเสาร์ที่ค้นพบในเขตตำบลโนนทัน

ลักษณะพิเศษที่เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชุมชน :
พิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ 150 ล้านปี และซากฟอสซิลไดโนเสาร์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราวความรู้ทางด้านธรรมชาติ
และธรณีวิทยาของจังหวัดหนองบัวลำภูที่เป็น แหล่งค้นพบที่สำคัญควรค่าแก่การศึกษาของเยาวชนจังหวัดหนองบัวลำภู

อัลบัมภาพ พิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ

แผนที่เดินทางท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ

http://thai.tourismthailand.org
https://anuwatjuthamas.wordpress.com


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*