ภาษาอีสานทั้งหมด 10651 - 10660 จาก 17431

  • อืน
    แปลว่า : นอกออกไป ต่างออกไป.
  • อืบ
    แปลว่า : เสริม แถม อย่างว่า ความบ่มีหาใส่ ไม้บ่ใหญ่หาอืบหาแถม (ภาษิต) พากันตกแต่งล้อมเมืองไว้อืบหนา (ผาแดง) แล้วสั่งให้อืบฮั้วต้ายแก่นเฮียวหนาม (ขุนทึง).
  • อือ
    แปลว่า : เสียงอึกทึกครึกโครม อย่างว่า แล้วต่าวเข้าปรางค์ประเสริฐเนานอน เมื่อนั้นกันดารเห็นแยกพลพะล้นล้อม เสียงอือเพี้ยงโดยดินดาแตก ช้างพ่องม้ามารแล้วสว่านสน (สังข์).
  • อื้อตื้อ
    แปลว่า : มืด ครึ้ม มืดครึ้ม เรียก มืดอื้อตื้อ อย่างว่า มืดอื้อตื้อควงฟ้าเง่าระงม (กา) มืดอื้อตื้อคือฟ้าเง่าฝน (เวส-กลอน) คันว่าสมคบด้วยพาโลใบ้บอด นับมื้อมืดอื้อตื้อทางแจ้งบ่มี (สังข์).
  • อือทือ
    แปลว่า : กระทือ กระทือ เรียก อือทือ อือทือเป็นว่านชนิดหนึ่ง มีหน่อคล้ายขิงหรือข่า อย่างว่า สับหน่อข่าถืกหน่ออือทือประดับแต่คือมันหั้งบ่แม่น (กลอน).
  • อือทือ
    แปลว่า : แน่น เต็ม คับคั่ง อย่างว่า มารหมื่นไค้ค้อนแกว่งกุมสังข์ อือทือยักษ์แยกมาหลายด้าน ศิลป์ชัยท้าวคนิงจงใจมากชื่อว่าฟ้าปั่นกั้งกูบ้าบ่ยอม ง่ายแล้ว (สังข์) สองขอกเบื้องประดับแห่เป็นถัน อือทือขาวปะกันหลั่งไปเป็นถ้อง ลือเซ็งชั้นหลานอาวคำเครื่อง คาดผ้าป้องผืนเสื้อใส่ดาว (ฮุ่ง).
  • อือยือ
    แปลว่า : มาก เต็ม เต็มหมด เรียก เต็มอือยือ อึยึ ก็ว่า.
  • อือลือ
    แปลว่า : พอง โต อย่างว่า ญิงใดอือลือท้องปูมหลวงอุ้มบาตร โฉมฮูปฮ้ายบุญเจ้าหากมี (คำสอน).
  • อุ
    แปลว่า : โอ่ง โอ่งสำหรับขังน้ำกินน้ำใช้ เรียก อุ อุแอ่งน้ำ ก็ว่า.
  • อุ
    แปลว่า : อาหารที่ปรุงใส่น้ำแต่น้อย เรียก อุ เช่น อุกบ อุเขียด อุหน่อไม้ อุฮวก อย่างว่า คันชิอุอ่อมจ้ำอย่าได้ใส่น้ำหลาย มันชิใสแจงแลงบ่เป็นตาจ้ำ (กลอน).