ภาษาอีสานทั้งหมด 1139 - 1148 จาก 17431
-
กรรมปฏิสรณะ
แปลว่า : มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา. -
กรรมพันธุ
แปลว่า : มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เช่น พ่อแม่เป็นคนดีลูกที่เกิดมาก็พลอยดีไปด้วย อย่างว่า เชื้อหมากต้องบ่ห่อนหล่นไกลกก แนวผมดกบ่ห่อนเป็นหัวล้าน (กลอน). -
กรรมวาจา
แปลว่า : คำสวดในพิธีทำสังฆกรรม เช่น สวดกรรมวาจาในเวลาอุปสมบท. -
กรรมวาจาจารย์
แปลว่า : อาจารย์สวดกรรมวาจาฝ่ายขวา คู่กับพระอนุสาวนาจารย์ อาจารย์ส่วนกรรมวาจาฝ่ายซ้ายในเวลาอุปสมบท. -
หมอเอ็น
แปลว่า : เป็นหมอที่ใช้การรักษาโรคโดยวิธีนวด โดยใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้สำหรับจับเส้นเอ็นที่เคล็ด ขัด ยอก เรียกอีกชื่อว่าหมอจับเส้น -
กรรมวิธี
แปลว่า : ระเบียบ, แบบอย่าง, หลักการ การจะทำอะไรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต้องให้มีระเบียบแบบอย่าง จึงจะน่าดูน่าชม เช่น จะฟังเทศน์ ฟังคำสั่งสอน จะกราบจะไหว้ต้องให้มีครู อย่างว่า หมกปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาด (ภาษิต) ถ้าไม่มีครูจะกลายเป็นว่าหมกปลาแดกหนอนน้อยบ่ตาย (ภาษิต). -
กรรมวิบาก
แปลว่า : ผลของกรรมเรียกวิบาก ผลดีเกิดจากการทำดี ผลไม่ดีเกิดจากการทำไม่ดี คนทำดีได้รับผลดี คนทำชั่วได้รับผลชั่ว ผลชั่วแม้แต่ผลชั่วก็ไม่ต้องการ ต้องการแต่ผลดี อย่างว่า ดีดีนี้ใผเห็นอยากเบิ่ง เทิงอยากเทิ้งเอาขึ้นขี่คอ (ภาษิต). -
กรรมเวร
แปลว่า : การทำด้วยความพยาบาทปองร้าย โดยที่คู่กรรมนั้นได้หมายหมั้นปั้นใจจะตามล้างตามผลาญให้ได้. -
กรรมสิทธิ์
แปลว่า : ความเป็นเจ้าของทรัพย์, ความมีอำนาจในสิ่งของที่ตนมี เช่นกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กรรมสิทธิ์ในข้าวของเงินทอง เป็นต้น. -
กรรมาธิการ
แปลว่า : กรรมการที่มีอำนาจหน้าที่สูงกว่ากรรมการ โดยที่จะทำการสอบสวนข้อความใดๆ เกี่ยวแก่กิจการที่ตนมีอำนาจหน้าที่ก็ได้ เช่น กรรมาธิการแห่งสภาผู้แทนราษฎร.