ภาษาอีสานทั้งหมด 2181 - 2190 จาก 17431

  • เกล็ด
    แปลว่า : เล็บมือ เล็บมือที่ป้อมกลม เรียก เล็บเกล็ดหอย เล็บมือที่ยาว เรียก เล็บกาบอ้อย อย่างว่า มือเกล็ดหอยเฮ็ดหลายได้น้อย มือเกล็ดอ้อยเฮ็ดน้อยได้หลาย (บ.).
  • เกล็ด
    แปลว่า : ขบ, แทะ ขบเมล็ดแตงโมให้แตกแล้วกินแต่เนื้อใน เรียก เกล็ดเม็ดแตงโม แทะเมล็ดข้าวให้แตกแล้วกินแต่ข้าวสาร เรียก เกล็ดเม็ดเข้าเปลือก.
  • เกลอ
    แปลว่า : เพื่อน, มิตร, สหาย สหายที่รักเรียก เกลอ (ข. เกลอ) เพื่อนสนิทมิตรสหายที่รักเรียก เกลอ อย่างว่า แต่นั้นพรานสรวงต้านเกลอแพงสหายราช (กา) ผมบ่หลายให้ตื่มซ้อง พี่น้องบ่หลายให้ตื่มเสี่ยวตื่มเกลอ (ภาษิต).
  • เกล้า
    แปลว่า : มวยผม มวยผมที่มัดเป็นจุกเรียก เกล้าผม อย่างว่า เกล้าก่องเหลื้อมมวยเพี้ยงภาคเทา (หน้าผาก) คือคู่ข้าขอดเกล้าโซนขึ้นขอบดอย (สังข์).
  • เกล้า
    แปลว่า : หัว, ศรีษะ หัวหรือศรีษะเรียก เกล้า อย่างว่า ศรีสุมังคละเลิศล้ำสิทธิเดชลือชา นาโกสุดยอดญาญไตรแก้วสวัสดิ์น้อยในธรรมพุทธบาท คุณพระยกใส่เกล้าชุลีล้ำยอดญาณ (สังข์).
  • เกล้า
    แปลว่า : ขมวด, ม้วน, มุ่น การขมวดผมเรียก เกล้าผม อย่างว่า หวีหัวแต่พอเกล้า กินเหล้าแต่พอเมา (ภาษิต).
  • เกลียง
    แปลว่า : หญ้า หญ้าทุกชนิดโบราณเรียก เกลียง เกียง ก็ว่าอย่างว่า สัพพะสิ่งช้างม้ามิ่งในนคร ก็บ่กินเกลียงหยุดอยู่ซงสลอนพร้อม เนื้อนกเลี้ยงประหิดเหียนหงส์เหิบ ขัวค่อขุ้มกะทากี้ก่างต่อง (สังข์).
  • เกลียง
    แปลว่า : กล้วยไม้ ดอกไม้ป่าหลายชนิด มีสีสันวรรณะต่างกัน ดอกไม้ประเภทนี้เกิดตามค่าคบไม้ มีกลิ่นหอม มีชื่อเรียกต่างกัน เรียก ดอกเกียง ดอกกับแก้ ดอกเกียงลม เจียงลม ก็ว่า อย่างว่า พี่จักไปแอ่วเต้าไพรกว้างกล่อมเกียง (กา).
  • เกลี้ยง
    แปลว่า : ส้มเกลี้ยง ส้มชนิดหนึ่ง ผิวเกลี้ยงกลมลูกโตเท่าส้มโอ เมื่อสุกสีเหลืองเรียก หมากส้มเกลี้ยง อย่างว่า เฮาก็ขอกินเกลี้ยงแก้อยากหิวหลาย เสี่ยวเฮาแพงพาโลบ่ให้กินพอดี (ขูลู).
  • เกลี้ยง
    แปลว่า : ราบ, เรียบ, เสมอ อย่างว่า ถากให้เกลี้ยงเหลาตื่มเติมดู แล้วจิ่งลงลายสลักดื่มเติมงามย้อง (ภาษิต).