ภาษาอีสานทั้งหมด 3267 - 3276 จาก 17431
-
คุบ
แปลว่า : ชื่อลายชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกไม้ไผ่ โดยวิธีข้าม 5 ยอ 2 ข้วม 2 ยอ 4 สลับกันไปตลอด เรียก ลายคุบ ฝาลายคุบนี้ใช้แอ้มเฮือนสมัยโบราณ. -
คุบ
แปลว่า : ตะครุบ หมาที่ไล่ตะครุบกบหรือเขียด เรียก หมาคุบกบคุบเขียด. -
คุม
แปลว่า : จับกุม บังคับ จับกุมโจรเรียก คุม อย่างว่า คุมเอาได้พระยาหลวงท้าวกว่า (ฮุ่ง) จับกุมคน เรียก คุมคน อย่างว่า เจ้าบอกให้หาพวกคุมคน ฮอมเอามาทังโทมใส่กะแจจำไว้ เมื่อนั้นกองหาญข้าขุนพลเพชรฆาต จัดฮีบฮ้อนกะแจโซ่ใส่พวง (สังข์). -
คุ้ม
แปลว่า : ไม้กะพ้อ ชื่อพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพัด เรียก ต้นคุ้ม. -
คุ้ม
แปลว่า : ส่วน ตอน กลุ่ม บ้านเมืองที่ใหญ่โตกว้างขวาง แบ่งเขตการปกครองออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียก คุ้ม เช่น คุ้มเหนือ คุ้มใต้ คุ้มตะวันออก คุ้มตะวันตก คุ้มกลาง เป็นต้น. -
คุ้ม
แปลว่า : ใกล้ ค่อน เวลาใกล้รุ่ง เรียก คุ้มฮุ่ง อย่างว่า แซวแซวฮ้องยูงแงวคุ้มฮุ่ง (หน้าผาก). -
คุ้ม
แปลว่า : กลุ้มใจ อย่างว่า บิดาคุ้มคนิงทวงฮีฮ่ำ (หน้าผาก). -
คุมคาม
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงหมาวิ่งไล่เนื้อในป่า อย่างว่า คุมคามเต้นในดงลัดไล่ เนื้อตื่นเต้นหนีลี้หลีกไกล (สังข์). -
คุมบาตร
แปลว่า : บิณฑบาต บิณฑิบาต ธรรมเนียมของพระสงฆ์เวลาเช้าออกโปรดสัตว์ด้วยการนุ่งสบงทรงจีวร มือถือบาตร เรียก พระไปคุมบาตร. -
คุมพะ
แปลว่า : พุ่มไม้ ต้นไม้พุ่มเรียก คุมพะ อย่างว่า ปวิสิตวา เข้าไปโดยพลัน วะนะคุมพัง สู่ป่าไม้แลหนามดิน (เวส).