ภาษาอีสานทั้งหมด 3301 - 3310 จาก 17431
-
เค็งคื่น
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น ฟ้าร้องดังสั่นสะเทือนไป อย่างว่า เสียงสะเทือนเท้า จักรวาลเค็งคื่น (สังข์). -
เค็งเค็ง
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงคนพูดกันในเวลาประชุม อย่างว่า เมื่อนั้นเจ็ดแจ่มเจ้าน้อมเน่งประณมกร เค็งเค็งชาวเป็งจาลแต่งปุนประดับไว้ ทุกประดาน้อมทูลธรรมเทวราช ปุนบอกให้เตินตั้งแต่งลิน (สังข์). -
เค็งเค็ง
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงดนตรีดัง อย่างว่า ประดับปิ่นป้องฮีฮ่ำเฮียงเงา พอดีเสด็จฮอดยามยวงข้า เค็งเค็งก้องตุริยาเค้าคื่น อวนอ่อนแก้วกือล้านล่วงไป (สังข์). -
เคดเลด
แปลว่า : หน้าที่มีลักษณะยาว เรียก หน้ายาวเคดเลด. -
เคน
แปลว่า : ประเคน มอบให้ พระเจ้าแผ่นดินให้ลุกชายปกครองบ้านเมือง เรียก มอบเวนเคนราชสมบัติ ญาติโยมถวายสิ่งของแก่พระสงฆ์เรียก เคน เช่น เคนเข้า เคนน้ำ เคนผ้า เคนแพร เคนหมากพลูปูนยา. -
เค้น
แปลว่า : บีบ คั้น เน้น เช่น บีบคอ เรียก เค้นคอ อย่างว่า บ่อยากล้มขอนหากพาพลิก บ่อยากหยิกแม่มือหากพาเน้น (ภาษิค). -
เค้น
แปลว่า : เคล็ด ขาเคล็ดเรียก ขาเค้น แขนขัดเรียก แขนเค้น. -
เค็ม
แปลว่า : ชื่อรสชนิดหนึ่ง เช่น เกลือมีรสเค็ม อย่างว่า หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม เค็มบ่จืด มืดบ่แจ้ง (ปัญหา). -
เคย
แปลว่า : ลูกสะบ้า ลูกสะบ้าเรียก หมากบ้า อี่เคย ก็ว่า. -
เคย
แปลว่า : ชิน คุ้น คนที่กระทำสิ่งใดจนชินมาแล้วเรียก เคย เช่น เคยเว้า เคยเฮ็ด เคยคึด อย่างว่า สิบฮู้บ่ท่อเคย สิบลูกเขยบ่ท่อพ่อเถ้า สิบเว้าบ่ท่อเฮ็ดท่อทำ (ภาษิต).