ภาษาอีสานทั้งหมด 3369 - 3378 จาก 17431
-
แคบแค
แปลว่า : ชื่อนกชนิดหนึ่ง หากินปลาตามบึงหรือหนอง ลอยเป็นฝูงๆ เรียก นกแคบแค นกแขบแค คับแค ก็ว่า. -
แคม
แปลว่า : ขอบ ข้าง ริม ข้างทางเรียก แคมทาง อย่างว่า พวกหนึ่งปลูกกล้วยอ้อยประดับจิ่มแคมทาง ดูตระการงามดั่งสวนสวรรคืฟ้า (สังข์). -
แคม
แปลว่า : ใกล้ ชิด อยู่ใกล้ชิดติดต่อกันเรียก แคม อย่างว่า ลมเป่งเปื้องเฟือยขาแคมภู (ฮุ่ง) ก็จิ่งเถิงแถวชั้นแคมชลน้ำใหญ่ (กา) ยักษ์ก็ถามเถิงเท้าแคมชลสุดเขต (สังข์). -
แค่ม
แปลว่า : บังเหียน บังเหียนม้าเรียก แค่มม้า อย่างว่า ยั่งยั่งม้าเหลื้อมแค่มอานคำ (ฮุ่ง). -
แค้ม
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น กิ่งไม้ตกลงมากระทบใบไม้แห้งดังแค้ม. -
แคร่
แปลว่า : เตียงไม้ไผ่ เตียงที่ทำด้วยไม้ไผ่ใช้เชือกถักเป็นแผ่น เรียก แคร่ ถ้าผู้หญิงอยู่ไฟนอนเรียก แคร่ชะนอน ชะแนน ก็ว่า อย่างว่า ทังเล่ากินน้ำฮ้อนนองค้างแค่ชะแนน (สิริจัน). -
แครง
แปลว่า : ผ้านุ่ง ผ้านุ่งเรียกแครง อย่างว่า มหาเถรเจ้าเจียฟันล้างลูบ น้ำสว่ายหน้าแครงไล้เบี่ยงบิง (สังข์). -
แคลง
แปลว่า : ระแวง สงสัย ระแวงสงสัยเรียก แคลงใจ อย่างว่า นางก็เคืองแคลงใจต่อบาบุญท้าว (กา). -
แคลน
แปลว่า : ขัดสน ยาก ไร้ คนที่ขัดสน เรียก แคลน อย่างว่า มีข้อยคอกเงินแสนหาคำแคลนบ่ได้ (เวส). -
แคลน
แปลว่า : เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า อย่างว่า บัดนี้สัพพะกอดเกี้ยวกลอนเก่ามาแถลง ชื่อว่าเทพาพระวาดพระนอมไพรกว้าง บุญยวงยั้งเซาแคลนคราวหนึ่ง ดีแต่สังข์ล่วงผ้ายผันย้ายก่อนบา (สังข์).