ภาษาอีสานทั้งหมด 3559 - 3568 จาก 17431
-
เงย
แปลว่า : ยกหน้าขึ้น แหงนหน้าขึ้น การแหงนหน้าเรียก เงยหน้า ช้างยกงาขึ้นเรียก ช้างเงยงา อย่างว่า คื่นคื่นช้างย้องย่างเงยงา มันเหลวไหลอาบคีงคือน้ำ พลกือก้ามเต็มไพรฮ้องโห่ เขาก็จาจีกไส้กินแกล้มมี่นัน (สังข์). -
เงอะเงอะงะงะ
แปลว่า : เซ่อ เซอะวะ คนที่ทำงานไม่คล่องแคล่ว ทำอะไรก็ทำเซ่อๆ ซ่าๆ เรียก เฮ็ดเงอะเงอะงะงะ. -
เงา
แปลว่า : แมลงป่องช้าง ชื่อแมลงชนิดหนึ่งคล้ายแมลงป่อง แต่โตกว่า มีสีดำ เรียก แมงเงา. -
เง่า
แปลว่า : มืด มัว เวลาฝนจะตกมีเมฆตั้งเค้า ทำให้ท้องฟ้ามืดมัว เรียก ฟ้าเง่า อย่างว่า ภายบนเบื้องระงมฟองฟ้าเง่า (กา). -
เง่า
แปลว่า : ตาย อย่างว่า พระพี่น้องเล็งราชอจินไตย เล็งข่วงสมคามงูเง่าตายเต็มด้าว วิสัยนี้ปานพรหมภายโลก ใต้แหล่งหล้าใดบ้างบ่มี เจ้าเอย (สังข์). -
เง้า
แปลว่า : ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง จำพวกกระโดดสูง รูปร่างคล้ายกบ มีสีดำ อาศัยอยู่ตามถ้ำหรือลำธารในป่าเขาเรียก เง้า. -
เงาะ
แปลว่า : ชื่อคนป่าจำพวกหนึ่ง อยู่ในแถบแหลมมลายู ตัวดำ ผมหยิกเรียก เงาะ อย่างว่า เงาะฮูปฮ้ายยังได้กล่อมรจนา ยังได้เป็นราชา ซ่าลือทังค้าย (กลอน). -
เงาะ
แปลว่า : คนที่มีรูปร่างงอ เรียก เงาะ เช่น พระที่แขนงอ เรียก ยาท่านเงาะ ชายที่ขางอ เรียก ท้าวเงาะ หญิงที่นิ้วงอเรียก นางเงาะ. -
เงิก
แปลว่า : ยกขึ้น เงยขึ้น แหงนขึ้น อย่างว่า พอเมื่ออินทร์แลฮ้องกลองยามทัดเที่ยง เหมือยหมอกข้อนดาวช้างเงิกเงย (ฮุ่ง). -
เงิง
แปลว่า : ยก ชู คนที่ยกย่องตัวเองโบราณว่า หมาขี้มักเงิงหาง (ภาษิต).