ภาษาอีสานทั้งหมด 4071 - 4080 จาก 17431
-
โจ้โก้
แปลว่า : ข้าวของที่กองรวมกันจำนวนมากและสูง เรียก สูงโจ้โก้. -
โจ่โค่
แปลว่า : อาการที่ผู้ใหญ่นั่งจับเข่า เรียก นั่งโจ่โค่. -
โจ่งแจ้ง
แปลว่า : เปิดเผย ไม่ปิดบัง การทำหรือการพูดที่ไม่มีปิดบัง ทำให้ผู้เห็นหรือผู้ฟังมองเห็นทุกด้านทุกมุม เรียก โจ่งแจ้ง. -
โจ่งโจะ
แปลว่า : อาการที่ยืนถ่างขาออกกว้างเรียก ยืนโจ่งโจะ. -
โจ่งโป่ง
แปลว่า : ลักษณะของรูที่ใหญ่ มองเห็นทะลุตลอด เรียก ฮูโจ่งโป่ง. -
โจเจ
แปลว่า : อาการพูดเสียงดังของคนหมู่มาก ไม่รู้ว่าเสียงใครต่อเสียงใคร เรียก เว้าโจเจ. -
โจด
แปลว่า : ชื่อไม้ไผ่ชนิดหนึ่งในตระกูลไม้ไผ่ป่า ลำเล็ก เกิดในป่าโปร่ง หน่อทำเป็นอาหารกินได้ เรียก ไม้โจด ลำต้นเอามาทำเป็นไม้กวาด กวาดลานบ้าน ลานวัด. -
โจด
แปลว่า : เล่าลือ เรื่องที่เล่าลือกันเรียก โจด โจดขาน ก็ว่า. -
โจดโลด
แปลว่า : สิ่งของที่มีลักษณะเล็กและสูง เช่น ต้นไผ่ลำเล็กและสูง เรียก สูงโจดโลด ยาวโจดโลด ก็ว่า. -
โจท
แปลว่า : ถาม การถามเรียก โจท อย่างว่า แล้วคอบไท้โพธิราชบุญขวาง จอมธรรม์ธรงวาจาโจทเขาขุนเสื้อ ใผผู้เป็นแนวท้าวกุมภัณฑ์พงศ์กิ่ง กูจักตั้งแต่งให้เป็นเจ้าแจกปุน (สังข์).