ภาษาอีสานทั้งหมด 4201 - 4210 จาก 17431
-
ชะง้ำ
แปลว่า : คว่ำลง เช่น คนคว่ำหน้าลง เรียก งุมหน้า ชะง้ำ ซ้ำง้ำ ก็ว่า. -
ชะงุ้ม
แปลว่า : ก้มลง เช่น คนก้มหน้าลง เรียก ก้มชะงุ้ม ชุ้มงุ้ม งุ้ม ก็ว่า. -
ชะเง้อ
แปลว่า : ชูคอขึ้น เช่น คนแหงนหน้าขึ้น เรียก แหนชะเง้อ เช้อเง้อ เท้อเล้อ ก็ว่า -
ชะเงื้อม
แปลว่า : ยื่นออกจากที่สูง เช่น ก้อนหินที่ยื่นออกจากภูเขา เรียก ชะเงื้อมเขา เงื้อมเขา เทื้อมเขา ก็ว่า. -
ชะแง้
แปลว่า : เหลียวแลดู เช่น คนแหงนหน้าขึ้นดู เรียก แหนชะแง้ แหนแช้แง้ แหนแท้แล้ ก็ว่า. -
ชะแงะ
แปลว่า : ชื่อผักชนิดหนึ่ง เรียก ผักสะระแหน่ ผักชะแงะ ผักแชะแงะ ผักแคะแงะ ก็ว่า. -
ชะโงก
แปลว่า : ยื่นหน้าออกไป เรียก ชะโงก โชกโงก ก็ว่า. -
ชะช่อน
แปลว่า : สะอาด สดใส รูปร่างที่สดใสเรียก ชะช่อน อย่างว่า ชะช่อนหน้าเจ้ายี่ฮับพร ประนมวันทาใส่หัวหุมอ้าง เมื่อนั้นภูธรไท้จอมเมืองคึดคั่ง แม่อยู่ห้องโฮงกว้างค่อยคลำ แด่เนอ (ฮุ่ง). -
ชะชื่น
แปลว่า : สดชื่น แจ่มใส หน้าตาที่แจ่มใสสดชื่น เรียก ชะชื่น อย่างว่า ชะชื่นพุ้นเกวียนแก่แถนลอ ทังเลิงเล็มมาดแถนหลายท้าว อันนี้พอแหนให้ผลควรฮู้ฮ่าง อันแต่พลท่านเว้าลือล้ำเอนกนอง (ฮุ่ง). -
ชะดัน
แปลว่า : ผลักให้เคลื่อนไป เช่น ผลักประตู เรียก ชะดัน ดัน ซุก ก็ว่า อย่างว่า พลพวกพร้อมพลายล่วงดงดอน ชะดันแพนมากมวลเมือหน้า (ฮุ่ง).