ภาษาอีสานทั้งหมด 5366 - 5375 จาก 17431
-
ถ่องแถว
แปลว่า : ต้นไม้หรือสิ่งของที่เรียงรายกันเป็นระเบียบ เรียก ถ่องแถว อย่างว่า พอเมื่อทะล่งฟ้าลมล่วงเวหาพุ้นเยอ จอมก็วางมาลาถ่องแถวกันเข้า เมื่อนั้นลมออนเจ้าทูตาตางค่วง เต้าเครื่องฮ้อยคืนเข้าขาบแถน (ฮุ่ง). -
ถอด
แปลว่า : เอาออก เช่น ถอดเสื้อ ถอดผ้า ถอดหอก ถอดตาว อย่างว่า บาฮ่ำฮู้คองยากมึนนาน ผายเชิงเถิงถอดตาวกำด้าม เฮวแฮงต้านอาเอยฮีบเฮ่ง นางก็ฉวยปิ่นแก้วกำได้ด่วนลง (สังข์). -
ถอน
แปลว่า : ฉุดขึ้น ดึงขึ้น อย่างว่า ภูมีท้าวถอนตาวเปลื้องแกว่ง แสงดาบต้องมารล้มท่าวเท (กา) พระบาทท้าวมิอาจกลัวเกรงสน่อยนั้น ภูธรถอนแม่ธนูปุนเปลื้อง หลังหักค้นครางตายฮ้องฮ่วน มันเล่ายังพ่นฟ้งไฟไหม้ลวบลน (สังข์). -
ถ่อน
แปลว่า : ทิ้งถ่อน ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบคล้ายมะกร่ำ ใบอ่อนกินได้ กิ่งช้างชอบกิน เรียก ต้นถ่อน. -
ถ้อน
แปลว่า : เป็นคำลงท้ายซึ่งผู้พูดต้องการจะให้เป็นเช่นนั้น เรียก ถ้อน เถิน เถินเถิ้น ก็ว่า อย่างว่า ขอแก่เทพแผ่นหล้าหลายชั้นช่อยแฮงแด่ถ้อน (สังข์). -
ถอบ
แปลว่า : ทับ ทุบ ทิ้งใส่ อย่างว่า ว่าจักเอาโอ่งน้ำยอถิ้มถอบพระองค์ (สังข์). -
ถอบแถบ
แปลว่า : ชื่อพืชเถาชนิดหนึ่ง ใบกรอบ มีฝักเมล็ดแบน เรียก ผักถอบแถบ ออบแอบ ก็ว่า. -
ถ่อม
แปลว่า : เคารพ อ่อนน้อม ถ่อมตน การแสดงความเคารพ ชื่อ ถ่อมตน ค่อม ก็ว่า อย่างว่า หมาเข้าบ้านให้ถ่อมหาง (ภาษิต). -
ถอย
แปลว่า : เคลื่อนออกจากที่เรียก ถอย เคลื่อนมาข้างหลังเรียก ถอยหลัง อย่างว่า เทียวทางบ่ทันสุดเส้นอย่าถอยหลังให้เขาเหยียบ ตายขอให้ตายหน้าพุ้นเขาจั่งย้องว่าหาญ (ภาษิต). -
ถ่อย
แปลว่า : คนชั่วช้าเลวทราม เรียก คนถ่อย อย่างว่า เลี้ยงผู้เถ้านับมื้อถ่อย เลี้ยงเด็กน้อยนับมื้อฮู้ (ภาษิต) เป็นใดบุญเพ็งดั้นเดินมาเมืองนาคภายพี้ เขานี้สัตว์ถ่อยถ้านมีฮู้ฮ่อมเชียงเจ้าเอย (สังข์).