ภาษาอีสานทั้งหมด 5801 - 5810 จาก 17431
-
นวน
แปลว่า : อ่อนนุ่มนิ่ม เช่น เนื้อผลไม้ที่แข็งเอาไม้ตีให้อ่อน เรียก นวน อย่างว่า เชื้อหมากต้องตีได้แฮ่งนวน (บ.). -
นัว
แปลว่า : รสกลมกล่อม อาหาร เช่น ต้ม แกง ลาบก้อย มีรสกลมกล่อม เรียก นัว อย่างว่า ขอให้มังสังชิ้นหอมนัวเท่าทั่ว (ผาแดง). -
นัวเนีย
แปลว่า : ชุลมุน วุ่นวาย การเล่นชุลมุนวุ่นวายเรียก นัวเนีย อย่างว่า เหมิดแต่นัวเนียเหล้นผัดนอนเว็นท้วนท่วน (ย่า). -
นอนเว็น
แปลว่า : นอนกลางวัน เวลากลางวันเป็นเวลาที่จะต้องทำงาน คนนอนกลางวันถือว่าเป็นคนขี้เกียจสันหลังยาว แต่เจ้านายสมัยโบราณก็ชอบนอนหลังกินอาหารเช้าแล้วงีบหนึ่งก็เอา และไม่ถือว่าเป็นคนขี้เกียจ อย่างว่า เสวยงายแล้วเนานอนนิทเน่ง (กา). -
โนน
แปลว่า : เนิน ที่สูง ที่สูงเรียกว่า โนน อย่างว่า ไซหลังหล้าบ่หมานปลาถืกแต่เต่า ไปยามแต่เช้าคลำพ้อว่าแม่นโพน โนนโนนมีแต่หญ้า ทางหน้าไซมีแต่ยุ้งฮากไผ่ ทางในมีแต่ยุ้งคือกุ้งชิแกว่นดี (บ.). -
บก
แปลว่า : กระบก ชื่อพรรณไม้ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นบก มีบกเกลี้ยงและบกคาย บกเกลี้ยงมีผล วัวควายชอบกิน เมล็ดข้างในใช้กินเป็นอาหารได้ และกลั่นเป็นน้ำมันจุดโคมไฟไต้ในเทสกาลออกพรรษา อย่างว่า มีทั้งบกพอกพร้อมยมหว้ากอกเกียง (สังข์). -
บก
แปลว่า : งวด แห้ง น้ำงวดน้ำแห้งเรียก น้ำบก อย่างว่า น้ำมาปลากินมด น้ำบกมดกินปลา (ภาษิต). -
บก
แปลว่า : ลด เบา บาง ลดจำนวนลง เช่น พลรบมีจำนวนหมื่น ลดลงเหลือจำนวนพัน เรียก บก อย่างว่า มารมอดล้มดูบ่าเบาบก (สังข์). -
บ่ง
แปลว่า : เจาะ แทง เมื่อถูกเสี้ยนหรือหนามแทง ต้องใช้เหล็กหรือหนามเจาะเอาเสี้ยนออก การใช้เหล็กหรือนามเจาะเรียก บ่ง. -
บ้ง
แปลว่า : บุ้ง บุ้งเรียก บ้ง บ้งเป็นสัตว์จำพวกหนอน มีหลายชนิด คือ บ้งกือก้อมและบ้งกือธรรมดา บ้งขน บ้งคืบ บ้งเล็น บ้งหาญ อย่างว่า ชาติที่แนวนามบ้งแปลงตัวกาชิตอดกินแล้ว เฮ็ดให้เป็นสิ่งม้อนใยหุ้มห่อตัว หั้นแล้ว (ภาษิต).