ภาษาอีสานทั้งหมด 6251 - 6260 จาก 17431
-
เนตร
แปลว่า : ตา ดวงตา (ป.ส. เนตฺต) อย่างว่า แซวแซวเอิ้นออระชอนเสียงสั่ง น้ำเนตรย้อยฮำหน้าถั่งแถว (สังข์). -
เน้น
แปลว่า : กดให้แน่น ใช้มือกดให้แน่น เรียก เน้น อย่างว่า บ่อยากล้มขอนหากพาพลิกบ่อยากหยิกแม่มือหากพาเน้น (กลอน) มันก็หักข่มเน้นเลยเข้าขีดมือ (สังข์). -
เนระนาด
แปลว่า : มากมาย เกลื่อนกล่น เช่น ต้นไม้ถูกลมพัดหักลงมากมาย เรียก ล้มเนรนาด รเนรนาด ก็ว่า. -
เนา
แปลว่า : วันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและเมษ เรียก วันเนา. -
เนา
แปลว่า : เย็บผ้าให้ติดกันเรียก เนา เช่น จะเย็บเสื้อผ้าจะต้องเย็บเนาเสียก่อนแล้วจึงเย็บจริง. -
เนา
แปลว่า : อยู่ อย่างว่า เขาก็เนาสถิตนำพระยอดคุณรัสสีเจ้า (กา). -
เนียง
แปลว่า : นาง (ข.). -
เนียน
แปลว่า : ละเอียด อ่อน หญิงที่มีผิวละเอียดอ่อน เรียก ผิวเนียน อย่างว่า นางนาถเนื้อนางเกิดเวียนพรหม เนียนเนียนสนมสี่พันมือช้าง ฮมฮมเชื้องพังทลายเดียระดาษ คือดั่งง้างแผ่นพื้นเมือกว้างโปดไป (ฮุ่ง). -
เนียม
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้เล็กๆ ชนิดหนึ่งใบมีกลิ่นหอม ผสมปูนเคี้ยวกับหมากหรืออบผ้าให้มีกลิ่นหอม อีกอย่างหนึ่งใช้เรียกช้างพลายขนาดใหญ่ มีงาใหญ่และสั้น เรียก ช้างเนียม. -
เนียรโฉม
แปลว่า : ตาย อย่างว่า คึดเมื่อเจ้าจากบ้านฮามฮูปสุนทรา ทนสะแดดาลเดือดกระหายหิวข้อน ไทว่ามรณาเนื้อเนียรโฉมเสียพี่ คึดเมื่อลุงออกฮ้อนแฮวช้างช่อยพล (ฮุ่ง).