ภาษาอีสานทั้งหมด 6901 - 6910 จาก 17431
-
ผู
แปลว่า : มะปริง เรียก หมากผู หมากผูคล้ายหมากผางหรือมะปราง อย่างว่า หลิงเห็นผูผางหว้าบานงามสร้อยควี่ พะยอมยอดย้อยเป็นถ้องแค่ไพร่ (ฮุ่ง) เหลือหลายล้นผูผางมี้ม่วง (สังข์). -
ผู้
แปลว่า : คน ใช้ประกอบคำกริยาหรือวิเศษณ์ เช่น ผู้ดี ผู้ฮ้าย ผู้จบ ผู้งาม อย่างว่า ผู้ข้าขอพรสุขเพิ่งบุญจอมเจ้า เป็นใดแท้พระองค์มาดั้นด่วน มีเหตุฮ้อนดีฮ้ายเยื่องใด พระเอย (สังข์). -
ผู้
แปลว่า : เพศชาย เช่น ไก้ผู้ ม้าผู้ หมูผู้ เป็ดผู้. -
ผู้ไทย
แปลว่า : ชนชาติไทยสาขาหนึ่ง สำเนียงพูดคล้ายญวณ ภูมิลำเนาเดิมอยู่ในเมืองวัง เมืองโปนในประเทศลาว เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๗๓ ได้อพยพมาอยู่ท้องที่จังหวัดนครพนม สกลนคร และกาฬสินธุ์. -
ผูก
แปลว่า : หนังสือใบลานที่ร้อยไว้เป็นมัดๆ เรียก หนังสือผูก ผูกใหญ่ก็มี ผูกน้อยก็มี ผูกใหญ่ เช่น ลำสังข์ศิลป์ชัย ลำจำปาสี่ต้น ลำกาฬเกษ เป็นต้น ส่วนผูกน้อยได้แก่ ลำพระเวส. -
ผูก
แปลว่า : รัดด้วยเชือกเรียก ผูก สงวนสิทธิไว้แต่ผู้เดียวเรียก ผูกขาด เอาใขใส่รักใคร่ใยดีเรียก ผูกใจ. -
เผ็ด
แปลว่า : พริกเรียก หมากเผ็ด ผักเผ็ด ก็ว่า. -
เผ็ด
แปลว่า : มีรสร้อนอย่างรสพริก เรียก รสเผ็ด. -
เผดิม
แปลว่า : เริ่มแรก ตั้งต้น ลงมือก่อน แผลงมาจาก เดิม. -
เผดียง
แปลว่า : บอกให้รู้ล่วงหน้า นิมนต์ เชิญ เช่น นิมนต์พระสงฆ์เรียก เผดียงสงฆ์.