ภาษาอีสานทั้งหมด 7061 - 7070 จาก 17431

  • พงศา
    แปลว่า : ผู้มีชาติสกุล (ส.).
  • พงศาวดาร
    แปลว่า : เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติ หรือพระมหากาตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น.
  • พจน์
    แปลว่า : คำพูด ถ้อยคำ (ป. วจน).
  • พจนา
    แปลว่า : การเปล่งวาจา การพูด คำพูด (ป.).
  • พจนานุกรม
    แปลว่า : หนังสือสำหรับค้นความหมายของคำที่เรียงตามลำดับตามอักษร ลำดับคำพูด ลำดับถ้อยคำ.
  • พจนารถ
    แปลว่า : เนื้อความของคำพูด (ส.).
  • พญา
    แปลว่า : โบราณหมายเอาพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พญาเวสสันดร พญาศรีสญชัย สัตว์ที่เป็นใหญ่ เรียก พญา เช่น พญาครุฑ พระยานาค.
  • พเญีย
    แปลว่า : ท้าวพระยา เรียก พเญีย อย่างว่า องค์พเญียน้อมแถลงนางในอาสน์ (สังข์).
  • พเญีย
    แปลว่า : นางพญา นางพระยา เรียก พเญีย อย่างว่า ท่อไปมีเผ่าเชื้อพเญียยอดเทวี เป็นพระยาโทนอยู่เนานอนแล้ง อันว่า สมบัติล้นกองมณีนับโกฏิ พิชสล้างล้วนรือไฮ้ห่างแคลน (สังข์).
  • พธู
    แปลว่า : เจ้าสาว เมีย ผู้หญิง (ป.ส. วธู).