ภาษาอีสานทั้งหมด 7221 - 7230 จาก 17431
-
พสก
แปลว่า : ชาวเมือง พลเมือง (ป. วสก). -
พสุ
แปลว่า : ทรัพย์ สมบัติ (ป.ส. วสุ). -
พสุนธรา
แปลว่า : แผ่นดิน (ป. วสุนฺธรา) อย่างว่า ภูมิสถานพื้นพสุธาเฟือนฟั่ง น้ำยวกฟ้งตีต้องตลิ่นชัน (ป.ส.). -
พหล
แปลว่า : มาก ใหญ่ หนา ทึบ เช่น พหลโยธา โยธามาก พหลเสนา ทหารมาก. -
พหัส
แปลว่า : วันพฤหัสบดี ชื่อดาวนพเคราะห์ ดวงที่ ๖ อย่างว่า ทิตย์พุธเช้าศุกร์เสาร์งายแก่ จันทร์พหัสเที่ยงแท้อังคารค้ายค่ำพาน (โสกวัน). -
พอ
แปลว่า : เหมาะ ควร พอดี อย่างว่า ญิงใดทำกินพร้อมพอเกือทังปลาแดก เป็นข้าเพิ่นฮ้อยซั้นควรให้ไถ่เอา (คำสอน). -
พ่อ
แปลว่า : ชายผู้ให้กำเนิดแก่บุตร เรียก พ่อ พ่อนั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้แยกประเภทไว้เพียงแต่ตรัสบอกไว้ว่า พ่อเป็นพรหมของลูก พ่อเป็นเทวดาของลูก พ่อเป็นคนที่ลูกต้องเคารพบูชา พ่อเป็นแขกที่ลูกต้องต้อนรับ อย่างว่า ลูกบ่ฟังความพ่อแม่ผีเข้าหม้อนฮกเทิงดิบ พ่อแม่บ่สอนลูกเต้าผีเป้าจกกินตับกินไต (ภาษิต). -
พอก
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ต้นใหย่ มีลูกคล้ายผลละมุดแต่เล็กกว่า สุกแล้วกลิ่นหอม วัวควายชอบ ผลใช้น้ำมัน เรียก หมากพอก อย่างว่า บกพอกพร้อมยมหว้ากอกเกียง (สังข์). -
พอก
แปลว่า : ปูผ้าเรียก พอกผ้า อย่างว่า ทางท่องเท้าปูพอกแพรลาย (สังข์) ปิดทองพระเรียก พอกพระ อย่าว่า พร่างพร่างเหลื้อมคำพอกพันหลัง (สังข์). -
พอง
แปลว่า : ฟู บวม นูน เวลาตกใจกลัวผมจะฟูขึ้น เรียก ขนพอง ขนหัวลุกหัวพอง ก็ว่า.