ภาษาอีสานทั้งหมด 9801 - 9810 จาก 17431

  • หมูบ
    แปลว่า : หมอบ อาการที่คุกเข่าลงคู้ขาทั้งสองข้างทบข้อศอกทั้งสอง ก้มหน้าลงกับพื้น เรียก หมูบ อย่างว่า ภูวนาถฮู้ทยานฮ่อทันโทม บาไทวางแม่ธนูถองข้าง หลังหักคันเทิงพะลานล้มหมูบ จิตตะยักษ์เอิ้นเอาเสื้อช่อยกุม (สังข์).
  • หมูยอ
    แปลว่า : ของกินที่ทำด้วยเนื้อหมู บดแล้วอัดเป็นแท่งและนึ่งให้สุก.
  • หมูส้ม
    แปลว่า : หมูแหนม อาหารที่ทำด้วยเนื้อหมูสับให้ละเอียด ปรุงด้วยเครื่องปรุง ห่อด้วยใบตองเป็นห่อๆ เรียก หมูส้ม ส้มหมู ก็ว่า.
  • หมูสี
    แปลว่า : ชื่อพรรณมะพร้าวชนิดหนึ่ง ต้นเตี้ย ลูกดก น้ำหวาน เนื้อนิ่ม กินอร่อย เรียก หมากพร้าวหมูสี.
  • หมูสี
    แปลว่า : ชื่อพรรณกล้วยชนิดหนึ่ง ต้นเตี้ย ลูกดก รสหวาน ใช้กินได้ เรียก กล้วยหมูสี.
  • หมูสี
    แปลว่า : ชื่อตาของเสาเรือนชนิดหนึ่งสูงจากพื้นดินขึ้นมาประมาณหนึ่งศอกหรือเท่าหลังหมู โบราณถือว่าเป็นเสาไม่ดี ถ้าจะเอามาทำเสาเรือนให้หาวิธีแก้ไข.
  • หมูสีส่อง
    แปลว่า : แสงของกลุ่มดาวยที่มองเห็นสีขาวเป็นทางยาวผ่านท้องฟ้า เรียก หมูสีส่อง หรือที่โบราณเรียก ทางช้างเผือก.
  • หย
    แปลว่า : ม้า หัย ก็ว่า (ป. ส.) หโยดม น. ม้าอย่างดี (ป.) อย่างว่า ขาจิ่งพรากจากห้องพิเศษมโนรม หัยหัยลวาฮอดเวียงเถิงกว้าน ฮมฮมพร้อมปลงหามของฝาก ขึ้นแผ่นล้านเถิงฮ้านแท่นทอง (ฮุ่ง).
  • หยด
    แปลว่า : ไหลออกมาเป็นหยาดๆ เรียก หยด เช่น น้ำหยดหนึ่ง สองหยด สามหยด.
  • หยวก
    แปลว่า : ลำต้นกล้วย หรือแกนในของต้นกล้วย เรียก หยวกกล้วย.