ภาษาอีสานหมวด "ส" 141 - 150 จาก 1063

  • สกรรมกริยา
    แปลว่า : กริยาที่ต้องมีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ.
  • สกล
    แปลว่า : ทั่ว ทั้ง ทั้งสิ้น (ป.ส.) เช่น สกลโลก น. ทั้งโลก สกลพิภพ น. ทั่วพิภพ สกลจักรวาล น. จักรยานทั้งสิ้น สากล ก็ว่า อย่างว่า เทื่อนี้บุญแจ่มเจ้าล้นแผ่นสากล บาไทธรงจำปาโผดดีเดิมเถ้า ภูธรท้าวฮมเถิงถามข่าว เขือค่อยหอมไพร่พร้อมเถิงนี้สำราญ แด่รือ (สังข์).
  • สกา
    แปลว่า : เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่งใช้ลูกบาศก์ทอด แล้วเดินตัวสกาตามแต้มลูกบาศก์ ตาหมากสกามี ๒๔ ตา ลูกสกามี ๔ ลูก การเล่นหมากฮุกหมากสกาเป็นการเล่นชั้นสูง พระราชามหากษัตริย์หรือเศรษฐีจึงเล่นได้.
  • สกาว
    แปลว่า : ขาว สะอาด หมดจด.
  • สกุณ
    แปลว่า : นก นกตัวผู้ (ป. สกุณ) อย่างว่า อีกจักวันหมื่นมื้อชิคืนคอบพระแพงอกอุ่นนั้น เทื่อนี้พี่คนิงนงหิวทอดแถมเถิงน้อง เป็นดั่งเครือเขาข้องขาสกุณกลางป่า รือจักหยุดอยู่ได้ยามน้อยหนึ่งมี แม่เอย (สังข์).
  • สกุณี
    แปลว่า : นกตัวเมีย (ป.) อย่างว่า สกุณีนางนกแขกเขียวเขาตู้กูหุกกู้ขันคูฮ้องคู่ กินหมากไม้ในด้าวด่านดง (บ.).
  • สกุล
    แปลว่า : ตระกูล วงศ์ เชื้อสาย เผ่าพันธุ์เชื้อชาติผู้ดี อย่างว่า พ่อมันเป็นเผ่าท้าวผู้ผ่านนครหลวง สินควรคือคู่ทรายในน้ำ มิใช่สามานย์เชื้อสกุลพราหมณ์ชั้นต่ำ ยศยิ่งล้ำเกียรติ์กว้างทั่วแดน แท้แล้ว (สังข์).
  • สงก์
    แปลว่า : ความสงสัย (ป. สงฺกา ส. ศงฺกา) อย่างว่า ข้อยจักตายจากเจ้าวันนี้บ่สงก์ (กา).
  • สงกรานต์
    แปลว่า : โบราณถือเดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่ เดือน ๕ อากาศร้อนจัด โบราณจึงให้มีพิธีสงกรานต์ รดน้ำเมื่อเทศกาลเดือน ๕ มาถึง นับตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ถึงวันเพ็ญเดือน ๖ ชาวอีสานจะนำน้ำอบน้ำหอมไปสรงพระพุทธรูปที่ทางวัดจัดให้ สรงพระสงฆ์ สรงผู้เฒ่าผู้แก่ สรงแข้วเขานองา ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องค้ำของคูณ และมีการสรงน้ำกันพอเป็นพิธี.
  • สงฆ์
    แปลว่า : ภิกษุในพระพุทธศาสนาตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปประชุมกันทำกิจสงฆ์ เรียก สงฆ์ อย่างว่า ศาสนาสองพันห้ากลายมาเป็นอันต่าง ฝูงพระสงฆะเจ้าถือมื้อบ่ถืกกัน (บ.).