ภาษาอีสานหมวด "ส" 191 - 200 จาก 1063
-
ส้มพอดี
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มีรสเปรี้ยว ใช้ต้มปลาต้มเนื้อใส่น้อยหรือมากก็มีรสส้มพอดี เรียก ส้มพอดี. -
สมมา
แปลว่า : ขอโทษ ขอให้ยกโทษ อย่างว่า ยอเทียนเข้าสมมาลาโทษ (กาไก) ให้สูไปหาน้อยสมมาไลโทษ นางนั้น (กา). -
ส้มมอ
แปลว่า : สมอ ส้มมอมี ๒ ชนิด คือ ส้มมอดินหรือส้มมอพุ่ม มีรสขมเรียก ส้มมอบีงู อีกอย่างหนึ่งเรียก ส้มมอใหญ่ ใช้กินเป็นอาหารและทำยาได้. -
ส้มเสี้ยว
แปลว่า : กาหลง กาหลงเรียก ส้มเสี้ยว ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงต้มกบหรือปลาอร่อยดีนักแล. -
ส้มหมู
แปลว่า : เอาเนื้อหมูมาคั้นเป็นส้ม ห่อด้วยใบตองทำเป็นห่อๆ หรือจะใส่ไหหรือหม้อปิดปากไว้. -
ส้มออบแอบ
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ใบกรอบมีรสส้ม เรียก เครือผักออบแอบ ใช้ต้มกบดีเกือบเท่าใบส้มเสี้ยว. -
ส้มโฮง
แปลว่า : สำโรง ชื่อพรรณไม้ขนาดใหญ่ เรียก ต้นส้มโฮง บ้านที่เอาชื่อของต้นไม้นี้ไปตั้ง เรียก บ้านส้มโฮง ชื่อบ้านส้มโฮงมีอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน. -
สมคราม
แปลว่า : การรบกัน คนโบราณเรียก สมคาม อย่างว่า สงครามงูเง่าตายเต็มด้าว (กาไก) กำเนิดแท้ทังโลกเลิงเป็น ขอแก่พันตาตรัสส่องแลเล็งข้า ยามใดยุทธกรรมด้วยสมครามยุ้งใหญ่ ขอให้เจ้าแผ่นฟ้าหลิงเยี้ยมอย่าไล แด่ถ้อน (สังข์). -
สมคาม
แปลว่า : การรบกัน อย่างว่า คันว่าสมคามเขินช่อยกันกวนฆ่า (ฮุ่ง). -
สมณ์
แปลว่า : สมณะ ผู้สงบ นักบวช อย่างว่า บัดนี้เฮาจักละท่อนท้าวธรงผนวชเป็นสมณ์ ดูดั่งเวราลามคอบคีงคุงเนื้อ เฮาจักโคจรดั้นเดินนำน้องนาถ ดั้นฮอบบ้านหลายชั้นสืบดู (สังข์).