ภาษาอีสานหมวด "ห" 51 - 60 จาก 1363

  • หมอยาฮากไม้
    แปลว่า : เป็นหมอที่ใช้วิธีการรักษาโรคด้วยสมุนไพร แร่ธาตุ และส่วนต่างๆ ของสัตว์ การกินยาสมุนไพรของชาวอิสานมีวิธีสกัดตัวยาออกมาจากสมุนไพรแบบง่ายๆ คือการฝนยา เป็นการนำสมุนไพรมาฝนหรือถูกับแผ่นหิน แผ่นเท่าฝ่ามือ เมื่อฝนแล้วก็เอาแผ่นหินนั้นจุ่มน้ำ ตัวยาที่ฝนออกจากละลายในน้ำเป็นน้ำยาที่สกัดออกมา สมุนไพรที่นำมาฝนประกอบด้วยรากไม้ แร่ธาตุหลายชนิด บางทีชาวบ้านเรียกว่า “ยาซุม”
  • หมอยา
    แปลว่า : หมอที่รักษาอาการเจ็บป่วยด้วยยาสมุนไพร
  • หมอมนต์
    แปลว่า : เป็นผู้รักษาคนเจ็บไข้ที่ไม่ได้เกิดจากผีทำ การรักษาแบบนี้มักใช้กับผู้ป่วยกระทันหัน เช่น ตกต้นไม้ กระดูกหัก ถูกสัตว์ร้ายขบกัด ฟกช้ำต่างๆ โดยใช้สมุนไพร หรือน้ำมันที่เสกเป่าประกอบคาถาอาคม ที่เชื่อว่าจะทำให้การเจ็บป่วยหายเร็วขึ้น
  • หมอขวัญ
    แปลว่า : เป็นผู้มีความรู้และความสามารถในการขับกล่อมขวัญ สู่ขวัญ หรือเรียกขวัญ ชาวบ้านเชื่อกันว่าขวัญเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแต่อยู่ภายในร่างกายของคนยามปกติ เป็นสิ่งทำให้ร่างกายคนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อคนเจ็บป่วยหรือตกใจ ขวัญจะออกจากร่างกาย ชาวบ้านจึงต้องทำพิธีเรียกขวัญ หรือสู่ขวัญ เพื่อให้ขวัญนั้นกลับมาอยู่ในร่างกายตามเดิม และผูกมัดขวัญให้อยู่กับเนื้อกับตัวด้วยสายสิญจน์ บางครั้งก็ทำพิธีสู่ขวัญให้แขกผู้มาเยือน หรือผู้ที่จะออกนอกหมู่บ้าน เดินทางไกลเป็นเวลานานๆ หรือสู่ขวัญให้สัตว์ สิ่งของด้วย เช่น สู่ขวัญวัว ควาย สู่ขวัญข้าว เป็นต้น
  • หมอสะเดาะห์เคราะห์
    แปลว่า : เป็นผู้ทำพิธีกรรมเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ไม่ดีต่างๆ ที่ชาวบ้านถือกันว่านำโรคภัยมาสู่ตนและครอบครัว เช่น ฝันไม่ดี ถูกของเสกต่างๆ มีสัตว์น่ารังเกียจเข้ามาในบ้าน เช่น เหี้ย แร้ง เป็นต้น การสะเดาะห์เคราะห์ส่วนใหญ่มักทำกระทงกาบกล้วยรูปสี่เหลี่ยมใส่ดอกไม้ ธูป เทียน อาหาร มหาก พลู ตุ๊กตา (แทนคนที่สะเดาะห์เคราะห์) ด้ายสายสิญจน์ประดับธงริ้วต่างๆ หมอสะเดาะห์เคราะห์ทำพิธีสวดเวทมนต์คาถาแล้วนำกระทงนั้นไปทิ้งนอกหมู่บ้าน แล้วทำพิธีผูกข้อมือรับขวัญให้กับผู้ที่ประสงค์จะขับไล่เคราะห์ร้ายให้พ้นตัว
  • หมอจ้ำ
    แปลว่า : เป็นผู้ประกอบพีธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการบวงสรวง สังเวยผี และเทวดาประจำหมู่บ้านหรือผีปู่ตาเป็นผู้ช่วยสื่อสารระหว่างคนกับผี เป็นผู้ช่วยแก้ไขไถ่โทษแก่ชาวบ้านกรณีทำผิดผีบ้านหรือผีบรรพบุรุษ
  • หมอธรรม
    แปลว่า : เป็นผู้ที่เรียนรู้วิชาอาคมและปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม เป็นบุคคลที่ชาวบ้านเคารพนับถือ สามารถขจัดปัดเป่าผีร้ายเมื่อเกิดการเจ็บป่วยอันมีสาเหตุมาจากการถูกผีร้ายกระทำ เช่นผีปอบ ผีโพง ชาวบ้านมักจะมาให้หมอธรรมผูกฝ้าย รดน้ำมนต์ พร้อมๆ กับการรักษาด้วยสมุนไพร
  • หมอลำผีฟ้า
    แปลว่า : ลำผีฟ้าเป็นการลำในพิธีกรรมรักษาโรค โดยวิธีขับร้องประกอบเสียงดนตรี (แคน ฉิ่ง ฉาบ) หมอลำส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง การรักษาแบบนี้มักเป็นวิธีสุดท้าย หลักจากที่รักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ ได้ผลแล้ว พิธีกรรมลำผีฟ้าจัดขึ้นหลังจากที่หมอลำส่อง หรือหมอทรง แจ้งสาเหตุแห่งการเจ็บไข้ให้เจ้าของไข้ทราบแล้ว หรือไม่ก็ลัดขั้นตอนจัดพิธีกรรมลำผีฟ้าเลย โดยไม่ต้องลำส่องก็ได้ ลำผีฟ้ามีชื่อเรียกอื่นๆ อีกคือ ลำผีไท้ ลำไท้เทิง ลำผีแถน
  • หมอมอ
    แปลว่า : เป็นหมอดูฤกษ์ยาม ทายโชคชะตาราศีตามหลักโหราศาสตร์ ดูสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บว่าอาจเกิดจากการกระทำของผีต่างๆ ชาวบ้านมีเรื่องไม่สบายใจ มาปรึกษาหมอมอให้ช่วยทำนายและชี้แจงว่าควรทำอะไรจึงจะหายจากอาการ ถ้ามีเคราะห์หมอก็แนะให้ทำการสะเดาะห์เคราะห์ นอกจากดูเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ หมอมอยังสามารถดูถึงสิ่งของที่สูญหายได้ด้วย
  • แหลว (นกชนิดหนึ่ง)
    แปลว่า : เหยี่ยว ชื่อนกชนิดหนึ่งในจำพวกนกอินทรีมีหลายชนิด เช่น แหลวแดง แหลวตังบี้ แหลวนกเขา แหลวพานโตน อย่างว่า เชื้อชาติแฮ้งบ่ห่อนเวิ่นนำแหลว แนวหงส์คำบ่บินนำฮุ้ง (ผญา) คือคู่ลูกไก่น้อยรือย้านหย่อนแหลว (สังข์).