ภาษาอีสานวันละคำ 2024-01-10 ตะแบง
ตะแบง แปลว่า
ตะแบง [ตะแบง] แปลว่า
ต้นสะแบง ต้นตะแบก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง กิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกลม ทึบ เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาแตกเป็นร่องลึกตามยาว ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 10-15 เซนติเมตร ยาว 20-35 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขนหยาบและสาก ใบอ่อนและยอดอ่อนมีหูใบสีแดงหุ้ม ก้านใบยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกบิดเวียนรูปกังหัน สีขาวแซมสีชมพูเป็นแถบตรงกลางแต่ละกลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีครีบขยุกขยิกย่นตามยาว 5 ครีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อัดแน่นรอบรังไข่ อับเรณูสีเหลือง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรี ปลายเกสรเพศเมียเรียวแหลม ผลแห้งรูปร่างค่อนข้างกลม แข็ง ถูกปิดด้วยครีบบางๆสีแดงเป็นจีบ หักพับไปมาเป็นชั้นตามความยาวผล มีปีกผล 5 ปีก สีแดงสด ปีกยาว 2 ปีก ยาว 8-10 เซนติเมตร ปีกสั้น 3 ปีก เมล็ดแข็ง ออกดอกเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ติดผลเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-500 เมตรต้นไม้ชนิดหนึ่งมีมากทางอีสาน คล้ายกับต้นกุง ใบตองกุง มีใบเล็กกว่าใบตาด http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=47581.0
ตะแบง ภาษาอังกฤษ :
Dipterocarpus tuberculatns Roxb.
อัพเดตล่าสุด : 2025-01-17 12:10:01 พจนานุกรมภาษาอีสาน โดย สมาชิกอีสานร้อยแปด