ภาษาอีสานวันละคำ 1041 - 1050 คำ จาก 2460
1041 - 1050 คำ จาก 2460-
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-07-16 "ซิ้น"
แปลว่า : เนื้อ เนื้อวัวเรียก ซิ้นงัว เนื้อก้อนใหญ่เรียก ซิ้นโค้น เนื้อก้อนเรียก ซิ้นต่อน เนื้อที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ เรียก ซิ้นพูด เนื้อที่จัดให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเรียก ซิ้นถอด เนื้อที่ทำเป็นริ้วตากแห้งเรียก ซิ้นหลอด ซิ้นต่อง. -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-07-15 "หยุมหัว"
แปลว่า : ดึงผม ขยุ้มผม จับผมแล้วดึงหัว เป็นลักษณะของการทะเลาะกัน มักใช้กับผู้หญิง -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-07-14 "จุ้ย"
แปลว่า : อ้วน น่ารัก เด็กที่อ้วนเรียก จุ้ย ตุ้ย ก็ว่า. -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-07-13 "ห้วย"
แปลว่า : ธารน้ำ ลำธาร มักจะพบในชื่อของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอหรือจังหวัด ของจังหวัดในภาคอีสาน -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-07-12 "แย้"
แปลว่า : ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายกิ่งก่า อยู่รู ใช้กินเป็นอาหารได้ เรียก แย้ อย่างว่า แย้บ่ห่อนท่อแขน แลนบ่ห่อนท่อแค่ง (ภาษิต). -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-07-11 "ขาเลาะ"
แปลว่า : คนที่ชอบเที่ยวเตร่ไปเรื่อย ส่วนมากจะใช้กับวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ชอบเตร็ดเตร่ เที่ยวเล่นสนุกสนาน -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-07-10 "อีหลีเบาะ"
แปลว่า : จริงหรอ, จริงเหรอ -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-07-09 "ม้าว"
แปลว่า : พาหุรัด เครื่องประดับต้นแขนเรียก ม้าว ม้าวเป็นเครื่องประดับชั้นสูงสำหรับพระราชามหากษัตริย์ใช้ ถ้าคนธรรมดาสามัญใช้ก้องแขน ก้องขา คือเอาเงินหรือทองคำตีเป็นบ่วงกลมๆ สวมที่ข้อแขนและข้อขา ซึ่งเรียกว่า ก้องแขน ก้องขา อย่างว่า บัวนางล้อมระวังเพ็งพื้นล่าง ถวายเสื้อผ้าทังม้าวมิ่งแหวน (สังข์) ม้าวใส่แขนแหวนใส่ก้อยปัดน้อยสร้อยสังวาล (เวส) ม้าวฮัดคล้องแขนน้อยดั่งแมน (ขูลู). -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-07-08 "ตาว"
แปลว่า : ดาบ -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-07-07 "ยอง"
แปลว่า : ปุยนุ่นเรียก ยองนุ่น ปุยฝ้ายเรียก ยองฝ้าย อย่างว่า เขาก็วางหลาในบ่เข็นยองฝ้าย (กาไก) วรรณคีงขาวอ่อนปานยองฝ้าย (ขูลู) พี่บ่กลัวเกรงสังท่อใยยองน้อย (สังข์).