ภาษาอีสานวันละคำ 1221 - 1230 คำ จาก 2464
1221 - 1230 คำ จาก 2464-
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-01-21 "ค่อย"
แปลว่า : ตัวเราเอง -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-01-20 "ซู่คู่ซู่คน"
แปลว่า : ทุกผู้ทุกคน ทุกคน ทั้งหมดทุกคน -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-01-19 "เซ็ง"
แปลว่า : เล่าลือ เกียรติขจร อย่างว่า ใผแลแล้วลืมตนตาไค่ เซ็งซ่าเจ้าติ้วซ้อยประสงค์เหล้นม่วนเมือง (สังข์) ชายที่เก่งกล้าเรียก ชายเซ็ง อย่างว่า บัดนี้กูจักปองเอาเชื้อชายเซ็งองค์ประเสริฐ บุญแก่กล้าลงเข้าเกิดดอม ก่อนแล้ว (สังข์). -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-01-18 "ตื้อ"
แปลว่า : มาตรานับแบบโบราณ เริ่มนับตั้งแต่หนึ่งไปถึงตื้อ ตื้อหนึ่งเท่ากับพันล้าน บ้านเมืองที่มีคนอยู่จำนวนหลายล้านเรียก ตื้อ อย่างว่า ยังมีนัคเรศล้ำชั้นชื่อเป็งจาลนิคมคนคั่งเพ็งพอตื้อเชียงหลวงล้นรุงรังล้านย่าน น้ำแผ่ล้อมระวังต้ายชั่วพ้น(สังข์). -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-01-17 "กะดัน"
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มีลูกกลมคล้ายมะกอก ใช้ลูกต้มกับปลากินอร่อยนัก เรียก หมากกะดัน. -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-01-16 "จิงฮิงจองฮอง"
แปลว่า : การทำปู้ยี่ปู้ยำ หรือทำนอกรีดนอกรอย เรียก เฮ็ดจิงฮิงจองฮอง. -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-01-15 "ปะ"
แปลว่า : ปล่อยทิ้ง -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-01-14 "หิ่น"
แปลว่า : กลิ่นหอม,หรือกลิ่นฉุน -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-01-13 "ใช่"
แปลว่า : เป็นคำรับรองว่าเป็นเช่นนั้น ถ้าไม่ใช่ก็บอกว่ามิใช่ อย่างว่า ว่าจักเดินดุ่งข้ามยังฝั่งจักรวาล คือคู่ตัวคางคาวดั่งดายตกไม้ หนูจักส่งสการเมี้ยนมาหวนเห็นปีก นกเล่าไค้ดูหน้าก็ใช่เฮา (ฮุ่ง). -
ภาษาอีสานวันละคำ
2022-01-12 "ชมพู"
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้หว้าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ผลใหญ่สีแดงปนขาว มีรสหวาน ใช้กินได้ เรียก หมากหว้าชมพู อย่างว่า สีหมากหว้าชมพูหายาก สีม้อนเต้อหาได้ซู่ยาม (บ.).