ภาษาอีสานวันละคำ 451 - 460 คำ จาก 2452
451 - 460 คำ จาก 2452-
ภาษาอีสานวันละคำ
2024-02-21 "เฮียงกันลองซอง"
แปลว่า : ว. เคียงคู่กันไป คู่กันไปแบบที่ไม่มีใครนำหรือตาม คู่กันอย่างเหมาะสม ดูเพิ่มเติม อ้อยต้อย -
ภาษาอีสานวันละคำ
2024-02-20 "ยากนำ"
แปลว่า : ทำให้ยุ่งยาก เป็นภาระ -
ภาษาอีสานวันละคำ
2024-02-19 "ผักติ้ว"
แปลว่า : จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้มมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล ขยายพันธุ์วิธีการใช้เมล็ด เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ตอนเหนือ โดยจะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าตามเชิงเขา และตามป่าเบญจพรรณ -
ภาษาอีสานวันละคำ
2024-02-18 "หน้าเสมอหลึ่ม"
แปลว่า : ดีหน้าตาย,หน้าด้านหน้าทน (โคราช) -
ภาษาอีสานวันละคำ
2024-02-17 "เบิ้ง"
แปลว่า : บ้าง (โคราช). -
ภาษาอีสานวันละคำ
2024-02-16 "กะงามกะหยัง"
แปลว่า : ก็สวยก็พอจะมีอะไรอยู่ (ก็ฉันสวย) -
ภาษาอีสานวันละคำ
2024-02-15 "เหลื่อมโมงๆ"
แปลว่า : แสงวิบวับ แยงตา เงาวับ ขัดจนเงาวับ ฟ้าเหลื่อม เหลื่อมตา -
ภาษาอีสานวันละคำ
2024-02-14 "ห่วง"
แปลว่า : ร่วงโรย หล่น ใบไม้ที่แก่แล้วล่วงหล่นลงไป เรียก ใบไม้ห่วง อย่างว่า แม้นว่าสาขาไม้ในดงเป็นหมาก ตกสืบไว้เป็นหล้าชิห่วงเสีย (ขุนทึง). -
ภาษาอีสานวันละคำ
2024-02-13 "ก้อนคำ"
แปลว่า : หัวแก้วหัวแหวน พ่อทูนหัว แม่ทูนหัว -
ภาษาอีสานวันละคำ
2024-02-12 "ภู"
แปลว่า : ภู โบราณมีชื่อหลายอย่าง เรียก ภู ตรงตัวก็มี อย่างว่า มีทังชาวคาเขียวขอบภูแผงม้า (สังข์) เรียก ภูคำ ก็มี อย่างว่า ผ่อเห็นสุรภาพ้นภูคำเค้าค่อน พุ้นเยอ ดีแก่ขุนไพร่พร้อมคณาน้ำเลิกลา (สังข์) เรียก ภูเฮี้ย ภูเขา ผา ผาหลวง เขา ดอย ก็มี ตำว่าภูนี้จะเรียกอย่างไรก็ตามโบราณก็หมายเอาภูเขานั้นเอง.