ภาษาอีสานมาใหม่ 13881 - 13890 จาก 17431

  • เงี่ยม
    แปลว่า : หวาน, ไพเราะ การพูดถ้อยคำที่หวานหรือไพเราะ เรียก เงี่ยม (ส่วย) อย่างว่า แม้นจักมาให้ถ้อย คายเงี่ยมแสนทีก็ดี(สังข์).
  • เงียบ
    แปลว่า : สงัด ไม่มีเสียง มิด ก็ว่า
  • เงี่ยงดุก
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ขนาดเล้กชนิดหนึ่งเกิดตามชายป่า มีหนามเหมือนเงี่ยงปลาดุก เรียก ต้นเงี่ยงดุก ผลกลมขนาดพุทรา ใช้กินเป็นอาหารได้.
  • เงี้ยง
    แปลว่า : ภาชนะใช้รองรับน้ำหมากและน้ำลาย เรียก เงี้ยง กระโถน โถน ก็ว่า.
  • เงี่ยง
    แปลว่า : เอน เอียง สิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืนเรียก เงี่ยง อย่างว่า ชื่อว่าโลกีย์กว้างเมืองคนมันบ่เที่ยง มีแต่เงี่ยงซ้อยง้อยคือค้อยตลิ่งของ (กลอน).
  • เงี่ยง
    แปลว่า : เงี่ยหูฟัง การฟังโดยตั้งใจเรียก เงี่ยงหูฟัง อย่างว่า หยุดอยู่ยั้งตีนตั้งเงี่ยงฟัง (ผาแดง).
  • เงี่ยง
    แปลว่า : กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เรียก เงี่ยง เช่น เงี่ยงปลาดุก เงี่ยงปลาเข็ง เงี่ยงปลาปึ่ง เงี่ยงปลากด เงี่ยงปลาค้าว เป็นต้น.
  • เงิบเงิบ
    แปลว่า : อาการที่คนหรือสัตว์หายใจช้าๆ เช่น คนจวนจะตาย เรียก หันใจเงิบเงิบ.
  • เงิบ
    แปลว่า : ก.พลิกเอาด้านหน้าขึ้น ว.อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น ว.ก้อนหินที่ยื่นออกมาจากภูเขา คล้ายเพิง ใช้หลบแดดหลบฝนได้ เรียก เงิบ เทิบ ก็ว่า เรือนที่มีหลังคาลาดไปทางเดียวก้เรียก เงิบ หรือ เทิบ เหมือนกัน. ซึ่งในภาคกลางมีการนำคำว่า เงิบ ไปเป็นคำแสลงที่มีความหมายว่าผิดไปจากที่คาดหวังหรือคิดไว้ไว้อย่างมาก เช่น ระวังเงิบ
  • เงินจูม
    แปลว่า : เงินที่เป็นก้อนเหมือนลุกตะคร้อ เรียก เงินจูม เงินพดด้วง เงินหมากค้อ ก็ว่า.