ภาษาอีสานมาใหม่ 14571 - 14580 จาก 17431

  • ฆ้องหมู่ง
    แปลว่า : ฆ้องขนาดใหญ่ ใช้สำหรับตีในเวลาทำบุญมหาชาติ พอจบเทศน์กัณฑ์หนึ่งๆ จะตีฆ้องนี้ 3 ที เพื่อประกาศให้คนที่นั่งฟังเทศน์ได้อนุโมทนา เรียกว่า ฆ้องหมู่ง ฆ้องโหม่ง ก็ว่า ถ้าอยู่ไกลๆ จะได้ยินเสียงฆ้องนี้ดังติดกันดังหมู่งหมู่ง คึ่งคึ่ง ก็ว่า.
  • ฆ้องหม่อง
    แปลว่า : ฆ้องขนาดเล้ก มีรูปร่างเหมือนฆ้องขนาดใหญ่ ใช้สำหรับตีเข้ากับกลงฟ้อนในงานบุญบั้งไฟ หรือตีแห่กลองบวช กองหด กองอัฐะ กองกฐิน เรียก ฆ้องหม่อง ฆ้องกระแต ก็ว่า.
  • ฆ้องวง
    แปลว่า : ฆ้องที่เจาะรูที่ฉัตร 4 รู สำหรับร้อยหนังตีเกลียวผูกโยงกับวงที่ทำด้วยต้นหวาย วงหนึ่งมีลูกฆ้อง 16 ถึง 19 ลูก ฆ้องแต่ละลูกมีเสียงสูงต่ำเรียงกันเป็นลำดับ เรียก ฆ้องวง ใช้ตีกับวงมโหรีวงเล็กหรือวงใหญ่.
  • ฆ้องชัย
    แปลว่า : ฆ้องขนาดใหญ่ ตีคู่กับกลองสะบัดชัย สมัยโบราณใช้ตีในเวลาออกรบทัพจับศึก ถ้าตีฆ้องชัยแล้วถือว่าได้ชัยชนะไปแล้วครึ่งหนึ่ง หรือใช้ตีเวลาแห่เจ้าเมืองที่ออกไปอยู่ป่าให้เข้ามาปกครองบ้านเมือง เช่น ชาวเมืองไปเชื้อเชิญพระเวสสันดรเข้ามาปกครองเมืองสีพี.
  • ฆ้อง
    แปลว่า : เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมงองุ้มลงมารอบตัว มีปุ่ม (จมูก) กลมตรงกลางสำหรับตี มีชื่อเรียกหลายอย่างต่างๆ กัน.
  • ฆราวาส
    แปลว่า : คนผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่นักบวช (ป.).

  • แปลว่า : เป็นพยัญชนะพวกอักษรต่ำ ในภาษาอีสานไม่มีใช้.
  • ไขว่
    แปลว่า : กำหนดไม่ได้ นับจำนวนไม่ถูก , ไม้ล้มระเนระนาด หรือแปลว่าไขว่ห้าง
  • ไข้
    แปลว่า : ความเจ็บป่วยเรียก ไข้ ไข้เรื้อรัง เรียก ไข้ชำเฮื้อ ไข้วันเว้นวัน เรียก ไข้บา ไข้บ๋า ก็ว่า ไข่ม้ามหย่อน เรียก ไข้ป้าง ไข้ไทฟอยด์เรียก ไข้หมากไม้ใหญ่ ไข้ดีซ่านเรียก ไข้ออกเหลือง.
  • ไข่เหา
    แปลว่า : เหาเป็นโรคชนิดหนึ่ง เกิดอยู่ตามศรีษะของคนบ้าง สัตว์บ้าง กินเลือดคนและสัตว์เป็นอาหาร เหานี้มีไข่ จึงเรียก หมากไข่เหา.