ภาษาอีสานมาใหม่ 16441 - 16450 จาก 17431
-
ก่งเกื้อ
แปลว่า : เกื้อกูล, อุดหนุน, เจือจุน อย่างว่า ขอให้คึดก่งเกื้อยามใช้ช่วงการ (กา) ขอให้น้องก่งเกื้อเยื้อนโผดกูร์ณา (สังข์) -
ก้ง
แปลว่า : กลม มน ใหญ่ เช่นผ้าตาใหญ่เรียกผ้าตาก้ง เห็ดดอกใหญ่เรียก เห็ดตาก้ง ใช้ควบกับม้งเป็นม้งก้งก็มี เช่น มืนตาม้งก้ง. -
ก่ง
แปลว่า : ทำให้โค้ง เช่น ก่งคันศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า อย่างว่า หน้าพ่อข้อยชื่อว่าคำแพง แสนคนขึ้นขาเดียวบ่ก่ง บาดว่าพ่อข้อยขึ้นขาซ้ายก่งมา (เสียว) ก่งเอ๋ยก่ง ก่งเสนงเขามั่งก่งได้กงนวย ก่งเอยก่ง ก่งเสนงเขาควาย มันโชดกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน). -
ก่ง (คิ้ว)
แปลว่า : โค้ง คิ้วโค้ง เรียกคิ้วก่ง เช่น คิ้วก่งกวมตา อย่างว่า ออระม่อยหน้าคิ้วก่งคันศร ขนตางอนสิ่งนางเมืองฟ้า ทันตาแข้วขาวงามปานแว่น ฮูปอ้อนแอ้นนางฟ้าก็บ่ปาน (บ.) -
ก่ง (เก่ง)
แปลว่า : ผู้เก่งกล้า ผู้มีความสามารถ อย่างว่า เมื่อนั้นผู้ก่งท้าวทรงเทศเป็นพระยาวางธรรมถวายผนวชไลลาไว้ บัวนางล้อมระวังเพ็งพื้นล่าง ถวายเสื้อผ้าทังม้าวมิ่งแหวน (สังข์) -
กง (แม่กง)
แปลว่า : ชื่ออักษรที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง หรือ มาตรากง -
กง (ดื้อ)
แปลว่า : ดื้อ พยศ ขัดขืน คนดื้อด้านไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนกง โกง ก็ว่าอย่างว่า อย่าชะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ไผ่ป่า คันกะต่าบ่ห้อยบ่มีได้อ่านแอ่นกลางฯ อย่าซะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ฮวก บ่แม่นพวกหมู่นี้ ใผชิโก้ยขึ้นนั่งชาน(บ.). -
กกุสนธ์
แปลว่า : พระนามพระพุทธเจ้าองค์แรกที่เกิดในภัทรกัปนี้ เรียก พระกกุสันธะ กุกกุสันธะก็เรียก ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้ามาเกิด ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระอริยเมตตรัยโย (ป. กกุสนธ). -
กกุธ์ห้า
แปลว่า : เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์). -
กกแข้ว
แปลว่า : รากฟัน