คลังบทความ หน้า 47

การฟ้อนแขบลาน (แถบลาน)

การฟ้อนแขบลาน (แถบลาน)

ฟ้อนแขบลาน หรือฟ้อนแถบลาน คือการฟ้อนรำที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน โดยชาวบ้านเผ่าไทลาวในเขตอำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์  เป็นการฟ้อนรำประกอบการขับกาพย์เซิ้งเพื่อประกอบในพิธีการทำบุญหลวงหรือบุญบั้งไฟ   เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล    ในพิธีกรรมนี้จะมีการจุดบั้งไฟถวายเจ้าพ่อผาแดง 
ฟ้อนเอ้ดอกคูน

ฟ้อนเอ้ดอกคูน

ฟ้อนเอ้ดอกคูน คำว่า เอ้ เป็นภาษาอีสาน หมายถึงการประดับ ตกแต่ง จัดแจงให้สวยงามวิจิตร เอ้ดอกคูน จึงหมายถึง การประดับตกแต่ง จัดแจงดอกคูนให้สวยงาม งดงามวิจิตร ซึ่งเป็นจินตภาพอันได้จากความงดงามของดอกคูนที่บานสะพรั่งเหลืองอร่ามแซมด้วยใบเขียว พลิ้วโอนไหวยามต้องลม
เรือมกะโน๊บติงตอง(ระบำตั๊กแตนตำข้าว)

เรือมกะโน๊บติงตอง(ระบำตั๊กแตนตำข้าว)

เรือมกะโน๊บติงตอง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) เป็นการแสดงพื้นเมืองชาวไทเขมรในจังหวัดสุรินทร์ คำว่า กะโน๊บติงตอง เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวไทเขมร หมายถึง ตั๊กแตนตำข้าว เรือมกะโน๊บติงตอง ของอีสานใต้เป็นการละเล่นที่มีความสนุกสนาน
เรือมอันเร

เรือมอันเร

เรือมอันเร นั้น จะเล่นกันในช่วงของวันหยุดสงกรานต์ โดยชาวบ้านจะเล่นเรือมอันเรที่ลานบ้านหรือว่าลานวัด เรือม แปลว่า รำ  อันเร  แปลว่า สาก  ดังนั้น เรือมอันเร จึงแปลว่า การรำสาก เป็นการรำเพื่อความสนุกสนานในยามพักผ่อน  ส่วนมากผู้ที่อยู่ในวงรำสากจะเป็นหญิงล้วน  ส่วนหนุ่มๆจะมาเป็นกลุ่มยืนชมสาวที่กำลังรำอยู่ หากชอบคนไหนก็เข้าไปรำด้วย
การฟ้อนรำอีสานใต้ เรือมจับกรับ

การฟ้อนรำอีสานใต้ เรือมจับกรับ

การฟ้อนรำอีสานใต้ หรือ เรือมจับกรับ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านสวายจุ๊ ตำบลป่าชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า อาไยลำแบ เป็นการร้องประกอบกับการร่ายรำในเชิงเกี้ยวพาราสี ซึ่งในปัจจุบัน
เซิ้งสวิง

เซิ้งสวิง

เซิ้งสวิง เป็นการฟ้อนรำที่จำลอง หรือเล่าเรื่องราวการหาสัตว์น้ำของชาวบ้าน โดยใช้สวิงเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือ แสดงคู่ชาย-หญิง ก็ได้ หรือ แสดงเพียงผู้หญิงเท่านั้น ก็ได้
ฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์

ฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์

เนื่องจากปี 2550 เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชมมายุ 80 พรรษา ปวงชนชาวไทย ต่างน้อมรำลึก สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ชมรมฯ จึงได้จัดชุ …
เซิ้งกระติบ

เซิ้งกระติบ

เซิ้งกระติบข้าว เป็นการแสดงของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันดี และแพร่หลายที่สุดชุดหนึ่ง จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า การแสดงของภาคอีสานมีลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว
ฟ้อนหางนกยูง

ฟ้อนหางนกยูง

การฟ้อนหางนกยูงนี้ในสมัยก่อนนิยมฟ้อนเดี่ยวบนหัวเรือแข่ง   เมื่อมีงานประจำปีงานออกพรรษาความเชื่อว่าก่อนทีจะนำเรือเข้าแข่งจะนำเรือขึ้นไปถวายสักการะเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าจะนำเรือเข้าแข่งขัน   และจะต้องฟ้อนหางนกยูงเพื่อถวายต่อหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองด้วย   การฟ้อนหางนกยูงนี้จะฟ้อนเฉพาะเรือแข่งที่สำคัญและมีขื่อเสียงโด่งดังเท่านั้น
ฟ้อนโส้ทั่งบั้ง

ฟ้อนโส้ทั่งบั้ง

รำโส้ทั่งบั้งเป็นการแสดงที่กล่าวถึงพิธีกรรมความเชื่อของชาวโส้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณสกลนครและนครพนม ในการประกอบพิธีเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย ชาวโส้จะใช้กระบอกไม้ไผ่มากระแทกลงกับพื้น เพื่อให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะ ต่อมาได้มีการประดิษฐ์คิดท่ารำให้เกิดความสวยงามมากยิ่งขึ้น
ฟ้อนศรีโคตรบูรณ์

ฟ้อนศรีโคตรบูรณ์

เพื่อเป็นการรำลึกถึงอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ประวัติศาสตร์เล่าว่า เมื่อครั้งศรีโคตรบูรณ์รุ่งเรือง บ้านเมืองสงบสุข ศิลปะต่างๆ เจริญเป็นอันดี ศิลปะด้านดนตรี และนาฏศิลป์ ตามหัวเมืองน้อยใหญ่ ก็รุ่งเรือง เป็นที่นิยมมาก จึงได้ตั้งชื่อชุดการแสดงนี้ว่า  ฟ้อนศรีโคตรบูรณ์
การฟ้อนรำจังหวัดนครพนม

การฟ้อนรำจังหวัดนครพนม

การฟ้อนภูไทเรณูนคร เป็นการฟ้อนประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ที่สร้างบ้านแปลงเมือง การฟ้อนภูไทนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประจำเผ่าของภูไทเรณูนคร ถือว่าฟ้อนภูไทเป็นการฟ้อนที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม